Bank & Insurance
กองทุนประกันวินาศภัยแถลง “ผลการดำเนินงาน ปี 2565 และแผนงานที่จะดำเนินการในปี 2566”
กองทุนประกันวินาศภัยแถลง “ผลการดำเนินงาน ปี 2565 และแผนงานที่จะดำเนินการในปี 2566” นายชนะพล มหาวงษ์ ผู้จัดการกองทุนประกันวินาศภัย เปิดเผยถึงภารกิจของกองทุนฯ ว่า ปี 2565 กองทุนฯ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ชำระบัญชีบริษัทประกันวินาศภัยที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตฯ เพิ่มอีก 2 บริษัท คือ บมจ. ไทยประกันภัย และ บมจ. อาคเนย์ประกันภัย โดยคำทวงหนี้ส่วนใหญ่จะเป็นกรมธรรม์โควิด “เจอ จ่าย จบ” ซึ่งรวมกับที่กองทุนฯ ดำเนินการกับบริษัทที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตฯ เดิมอยู่ 6 บริษัท ทำให้ขณะนี้มีบริษัทประกันวินาศภัยฯ ที่กองทุนฯ กำลังดำเนินการอยู่ถึง 8 บริษัท รวมจำนวนคำทวงหนี้ประมาณเกือบ 7 แสนคำขอ ยอดเงินขอรับชำระหนี้กว่า 6 หมื่นล้านบาท ซึ่งกองทุนฯ ได้เร่งดำเนินการพิจารณาคำทวงหนี้และเร่งจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัย โดยเจ้าหนี้ส่วนใหญ่เป็นการประกันภัยโควิด กองทุนฯ จึงได้ประสานความร่วมมือกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ขอเชื่อมโยงข้อมูลผลการตรวจ RT-PCR ซึ่งในปี 2565 กองทุนฯ สามารถพิจารณาคำทวงหนี้ได้ถึง 27,792 คำขอ รวมเป็นเงินที่อนุมัติจ่ายกว่า 2.13 พันล้านบาท และได้จ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้ที่ยืนยันสิทธิรับเงินแล้ว 13,382 คำขอ เป็นเงินกว่า 1 พันล้านบาท ซึ่งจะเห็นได้ว่ายังมีคำทวงหนี้อีกประมาณ 14,400 คำขอที่ยังไม่มายืนยันสิทธิเพื่อขอรับเงินกับกองทุนฯ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว กองทุนฯ จึงได้สร้างระบบและประสานความร่วมมือไปยังสำนักงาน คปภ. ทั่วประเทศ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการรับคำยืนยันสิทธิรับเงินให้แก่ประชาชน ซึ่งได้เริ่มดำเนินการแล้วตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565 สำหรับการเตรียมการในปี 2566 กองทุนฯ ได้วางแผนเพื่อให้มีเม็ดเงินเพิ่มไว้สำหรับการจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้ โดยได้เสนอไปยัง คปภ. เพื่อพิจารณาเพิ่มอัตราเงินนำส่งตามมาตรา 80/3 แห่ง พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย จากเดิมที่บริษัทประกันวินาศภัยนำส่งเข้ากองทุนฯ ในอัตราปีละ 0.25 จากเบี้ยประกันภัยที่บริษัทได้รับ เพิ่มเป็น 0.5 ซึ่งจะเท่ากับอัตราที่กฎหมายกำหนด ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการ คปภ. และเพื่อเป็นการเร่งเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบ กองทุนฯ ได้ตั้งเป้าสำหรับการพิจารณาคำทวงหนี้ในปี 2566 ไว้ที่ 80,000 ถึง 100,000 คำขอ พร้อมกับเตรียมเงินเพื่อการจ่ายเจ้าหนี้ดังกล่าวไว้แล้วประมาณ 5 – 6 พันล้านบาท นอกจากนี้เพื่อให้กระบวนการพิจารณาคำทวงหนี้ และการสื่อสารประชาสัมพันธ์ สร้างความรับรู้แก่ประชาชนเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุม กองทุนฯ ได้เตรียมการพัฒนาระบบเทคโนโลยีเพื่อรองรับการยื่นคำยืนยันสิทธิรับเงินผ่านระบบคุ้มครองสิทธิออนไลน์ เพื่อลดระยะเวลาและลดการใช้ทรัพยากรกระดาษผ่านแอพพลิเคชั่น LINE ซึ่งได้รับงบประมาณเพื่อดำเนินการในปี 2566 และคาดว่าจะทำให้ประชาชนรับทราบข้อมูลข่าวสารของกองทุนฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีความเข้าใจกระบวนการทำงานของกองทุนฯ เพิ่มมากขึ้น และจะส่งผลให้การยืนยันสิทธิเพื่อขอรับเงินต่อกองทุนฯ ได้เพิ่มขึ้น และลดระยะเวลาในกระบวนการจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้ |
ทีเอ็มบีธนชาตจับมืออีสท์สปริง อินเวสท์เมนทส์ ฉลองความสำเร็จแรกกับกิโลยิ้มที่ 1
ทีเอ็มบีธนชาตจับมืออีสท์สปริง อินเวสท์เมนทส์ ฉลองความสำเร็จแรกกับกิโลยิ้มที่ 1 งานวิ่งแห่งปี “ทีทีบี | อีสท์สปริง พาร์ครัน 2022” พร้อมตั้งเป้าพิชิต 3 กิโลยิ้ม เพื่อระดมเงินบริจาคช่วยเหลือและเติมเต็มโอกาสให้เยาวชนไทยผ่าน 3 มูลนิธิ กรุงเทพฯ, 3 พฤศจิกายน 2565 -- ทีเอ็มบีธนชาต ร่วมกับ อีสท์สปริง อินเวสท์เมนทส์ ฉลองความสำเร็จแรกกับกิจกรรมเดิน-วิ่งการกุศลแห่งปี “ทีทีบี | อีสท์สปริง พาร์ครัน 2022” (ttb | Eastspring parkrun 2022) ครั้งที่ 10 งานวิ่งที่จะเปลี่ยน...ให้น้อง ๆ กลับมามีรอยยิ้มได้อีกครั้ง หลังจากสตาร์ทก้าวแรกไปเมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา นักวิ่งสายบุญได้รวมพลังร่วมสะสมระยะวิ่งมาถึงกิโลยิ้มที่ 1 ซึ่งทีเอ็มบีธนชาตสมทบเงินบริจาค 300,000 บาท เพื่อมอบให้ 3 มูลนิธิ พร้อมเชิญชวนคนไทยร่วมเติมเต็มโอกาสและช่วยเหลือเยาวชนไทยเพื่อก้าวเข้าสู่กิโลยิ้มที่ 2 ในรูปแบบ Virtual Run วิ่งที่ไหนและเวลาใดก็ได้ ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 กับเป้าหมายร่วมพิชิตภารกิจพิเศษสะสมระยะวิ่งรวม 1.5 แสนกิโลเมตร เปลี่ยนเป็น 3 กิโลยิ้มให้น้อง ทีเอ็มบีธนชาตพร้อมบริจาคเงินเพิ่มอีก 1 ล้านบาท โดยมีนายแบบและนักแสดงชั้นนำร่วมวิ่งสร้างรอยยิ้มให้น้อง ๆ อาทิ ลุค- อิชิคาว่า พลาวเด้น และเชียร์-ฑิฆัมพร ฤทธิ์ธาอภินันท์ นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี เปิดเผยว่า ธนาคารมุ่งสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายเพื่อให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เล็งเห็นความสำคัญของเยาวชนไทยที่จะต้องได้รับการดูแลและพัฒนาให้เติบโตกลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ แต่ยังมีเด็กจำนวนมากที่ยังขาดโอกาสและความเท่าเทียมทั้งด้านการศึกษาและการแพทย์ ทีเอ็มบีธนชาตจึงได้จัดงาน ttb | Eastspring parkrun 2022 กิจกรรมเดิน-วิ่งการกุศลแห่งปี ครั้งที่ 10 ภายใต้แนวคิด RUN FOR CHANGE เติมเต็มโอกาสและช่วยเหลือเยาวชนไทย ด้วยการร่วมวิ่งเปลี่ยนกิโลเมตรของคุณ…เป็นกิโลยิ้มให้น้อง ในรูปแบบ Virtual Run ที่นักวิ่งสามารถสะสมระยะวิ่งจากที่ไหนและเวลาใดก็ได้ และในปีนี้เราก็ได้พันธมิตรหลักที่ไม่ได้ร่วมมือกันแค่ด้านธุรกิจแต่ยังร่วมเป็นพันธมิตรในการร่วมสร้างสังคมไทยให้ดีขึ้นด้วย นั่นคือ บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) “กิจกรรมเดิน-วิ่งการกุศล ttb | Eastspring parkrun 2022 ธนาคารได้จัดต่อเนื่องเพื่อนำรายได้ทั้งหมดมอบให้มูลนิธิการกุศลที่ช่วยเหลือสนับสนุนเด็กที่ประสบปัญหา ต้องการความช่วยเหลือหรือเด็กด้อยโอกาส โดยที่ผ่านมาธนาคารได้มอบเงินบริจาคไปแล้วราว 40 ล้านบาท นำไปช่วยเหลือเป็นค่าผ่าตัดหัวใจแก่น้อง ๆ ผู้ป่วยโรคหัวใจ ทั้งในเด็กแรกเกิดและเด็กโตได้มากกว่า 1,500 ราย และในปีนี้ธนาคารมีเป้าหมายระดมเงินจากการขายบัตรวิ่งและเงินบริจาค โดยไม่หักค่าใช้จ่ายนำไปช่วยเหลือและเติมเต็มโอกาสที่หายไป...ให้น้อง ๆ กลับมามีรอยยิ้มได้อีกครั้ง ผ่านการมอบให้ 3 มูลนิธิในสัดส่วนที่เท่ากัน ได้แก่ มูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก ที่จะช่วยให้น้อง ๆ ที่ป่วยได้กลับมาแข็งแรงและยิ้มได้อีกครั้ง มูลนิธิเด็กอ่อนในสลัม ที่จะช่วยให้น้อง ๆ เด็กอ่อน ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม และมูลนิธิทีทีบี ที่มีโครงการไฟ-ฟ้า เพื่อช่วยเหลือดูแลและพัฒนาเยาวชนไทยในชุมชน ด้วยการจุดประกายความคิด ทักษะ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืนต่อไป” นายปิติ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ในวันนี้ ttb | Eastspring parkrun 2022 ได้ประสบความสำเร็จไปอีกหนึ่งขั้นในการก้าวผ่านกิโลยิ้มที่ 1 หรือ 50,000 กิโลเมตร ซึ่งทีเอ็มบีธนชาตได้สมทบเงินบริจาค 300,000 บาท จึงอยากเชิญชวนคนไทยมาร่วมกันเปลี่ยนพลังการเดิน-วิ่งสู่การเปลี่ยนแปลงที่มีความหมาย เพื่อเปลี่ยนกิโลเมตรเป็นกิโลยิ้มให้กับน้อง ช่วยกันเติมเต็มโอกาสที่หายไปให้เด็ก ๆ กลับมามีรอยยิ้มได้อีกครั้ง และก้าวเข้าสู่กิโลยิ้มที่ 2 ไปด้วยกัน เพื่อพิชิต! กิโลยิ้มที่ 3 ธนาคารจะมอบเงินสมทบเพิ่มรวมเป็น 1,000,000 บาท” ด้านนางสาวปนัดดา ตัณฑ์ชาญชีวิน รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายช่องทางการจัดจำหน่ายและธนบดีธนกิจ บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย) กล่าวว่า “อีสท์สปริง อินเวสท์เมนทส์ มีความมุ่งมั่นและตั้งใจช่วยเหลือสังคมในทุกมิติ โดยเฉพาะกลุ่มเด็ก เยาวชนที่ขาดโอกาส ซึ่งกิจกรรมเดิน-วิ่งการกุศลแห่งปี ttb | Eastspring parkrun 2022 ถือเป็นกิจกรรมที่ดีมีจุดมุ่งหมายหลักที่จะสร้างโอกาสให้กับเด็ก ๆ ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และหวังเป็นอย่างยิ่งว่ากิจกรรมนี้จะเป็นแรงส่งต่อพลังงานบวกให้กับสังคมไทยที่จะช่วยให้เด็ก ๆ ที่เป็นอนาคตของชาติกลับมามีรอยยิ้มได้อีกครั้ง และหวังว่าการให้ ‘โอกาส’ ในครั้งนี้จะเป็นอีกหนึ่ง ‘ของขวัญ’ ที่มีค่าต่ออนาคตของชาติ จึงอยากเชิญชวนคนไทยมาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ เพื่อเปลี่ยนการก้าวทุกกิโลเมตรให้เป็นกิโลยิ้มเพื่อน้อง นำเงินค่าบัตรวิ่งและเงินบริจาคทุกบาททุกสตางค์ไม่หักค่าใช้จ่ายมอบให้กับ 3 มูลนิธิเกี่ยวกับเด็ก โดยผู้ร่วมกิจกรรมสามารถเลือกเดิน-วิ่งที่ไหนและเวลาใดก็ได้ตาม เรียกได้ว่าเป็นการให้ที่ได้ทั้งบุญและสุขภาพที่แข็งแรง” งาน ttb | Eastspring parkrun 2022 ยังมีนายแบบและนักแสดงชั้นนำ อาทิ นายแบบสุดฮอต ลุค-อิชิคาว่า พลาวเด้น นักแสดงสาว เชียร์-ฑิฆัมพร ฤทธิ์ธาอภินันท์ และพี่ป๊อก-อิทธิพล สมุทรทอง ผู้ก่อตั้งกลุ่มเฟซบุ๊กแอดมินเพจผู้ใจดีจาก “42.195K_Club เราจะไปมาราธอนด้วยกัน” ที่คร่ำหวอดกับวงการวิ่งมานานกว่า 3 ทศวรรษ มาร่วมเปลี่ยนพลังการเดิน-วิ่งสู่การเปลี่ยนแปลงที่มีความหมาย ทั้งนี้ ttb | Eastspring parkrun 2022 เปิดโอกาสให้ทุกคนรวมพลังสะสมระยะวิ่งจากที่ไหนและเวลาใดก็ได้ เพียงสมัครและซื้อบัตรวิ่ง ซึ่งมี 2 รูปแบบ ได้แก่ บัตร Virtual Run ราคา 600 บาท รับเสื้อวิ่ง และเหรียญที่ระลึกเมื่อส่งผลวิ่ง และบัตร Virtual Run (VIP) ราคา 2,000 บาท รับเสื้อวิ่ง เหรียญที่ระลึกเมื่อส่งผลวิ่ง พิเศษกว่าด้วยกระเป๋าและผ้าบัฟรุ่นลิมิเต็ดที่ออกแบบมาเพียง 1,000 ชิ้นเท่านั้น โดยสามารถซื้อบัตรวิ่ง / ส่งผลระยะวิ่งจากการถ่ายภาพหน้าจอแอปพลิเคชันจับเวลาระยะวิ่ง และร่วมบริจาคเพิ่มเติมเพื่อเติมเต็มโอกาสและสร้างรอยยิ้มกับให้น้อง ๆ ได้ที่ https://parkrun-2022.ttbfoundation.org/ ตั้งแต่วันนี้ - 30 พฤศจิกายน 2565 โดยค่าบัตรวิ่งและเงินบริจาคสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ตามเงื่อนไขของกรมสรรพากรได้อีกด้วย * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * #RunForChange #วิ่งเพื่อเปลี่ยน #กิโลยิ้ม #ttb #Eastspring #parkrun2022 * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * |
เมืองไทยประกันภัย ส่งแคมเปญ โปรโมชันดีลดีประกันภัยสุดคุ้ม
เมืองไทยประกันภัย ส่งแคมเปญ โปรโมชันดีลดีประกันภัยสุดคุ้ม ใน Shopee 10.10 แบรนด์ดังปังเต็มสิบ เมืองไทยประกันภัย หรือ MTI ผู้นำด้านการรับประกันวินาศภัยแนวหน้าของประเทศ ส่งแคมเปญ โปรโมชันดีลดีประกันภัยสุดคุ้ม ในแคมเปญ Shopee 10.10 แบรนด์ดังปังเต็มสิบ เดือนตุลาคม บนแอปช้อปปี้ที่เดียวให้ลูกค้ารับโปรดีลดี แจก Coins คืนสูงสุด 2,000 Shopee Coins พร้อมสิทธิ์ผ่อนชำระเบี้ยประกันภัย 0% นานสูงสุด 10 เดือน ให้ เมืองไทยประกันภัย ช่วยดูแลคุณ บนร้านค้าออฟฟิเชียลสโตร์ Muangthai Insurance Official ใน Shopee Mall รับโปรดีลดีได้ตั้งแต่วันนี้ จนถึง 31 ต.ค. เท่านั้น บนร้านค้าออฟฟิเชียลสโตร์ Muangthai Insurance Official ใน Shopee Mall นางนวลพรรณ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) หรือ MTIกล่าวว่า “ในวิถีชีวิตใหม่หรือ New Normal ออนไลน์ได้เข้ามาเป็นปัจจัยที่ 5 ของชีวิตประจำวันในยุคดิจิทัลไลฟ์สไตล์ ที่สามารถเข้าถึงสินค้าและบริการง่ายแค่ปลายนิ้ว ยิ่งในโอกาสพิเศษของนักช้อป วันที่ 10 เดือน 10 แบบเช่นนี้ เมืองไทยประกันภัย จึงขอร่วมแคมเปญดีๆ กับ ช้อปปี้ รองรับความต้องการของลูกค้า เพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้เข้าถึงการทำรายการซื้อ-ขายประกันภัย การค้นหาข้อมูลประกันภัย เพิ่มความคุ้มครองกรมธรรม์ได้ง่ายยิ่งขึ้น สามารถเลือกการวางแผน และสร้างความอุ่นใจในการใช้ชีวิตได้อย่างไร้กังวล ตอกย้ำการดูแลอย่างครอบคลุมทุกมิติ” ผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่ร่วมรายการในแคมเปญ Shopee 10.10 แบรนด์ดังปังเต็มสิบ มีดังนี้ ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล ได้แก่ PA SIMPLE, PA YOUR HAPPY, PA HAPPY KIDS, PA TRUST และประกันภัยสุขภาพ Health me+ ให้คุณหายห่วงกับค่ารักษาพยาบาลเมื่อเกิดอุบัติเหตุ เจ็บจ่ายให้ไม่อั้น สบายใจได้ตลอด 24 ชั่วโมง คุ้มครองและครอบคลุมการรักษาตัวทั่วโลก เบี้ยประกันภัย 1,000-3,000 บาท กรอกโค้ด MTIH200 รับคืน 200 Shopee Coins เบี้ยประกันภัย 3,001-5,000 บาท กรอกโค้ด MTIH500 รับคืน 500 Shopee Coins / เบี้ยประกันภัย 5,001-7,000 รับคืน กรอกโค้ด MTIH800 รับคืน 800 Shopee Coins / เบี้ยประกันภัย 7,001 – 11,500 บาทขึ้นไป กรอกโค้ด MTIH1000 รับคืน 1,000 Shopee Coins / เบี้ยประกันภัย 11,501 – 17,000 บาทขึ้นไป กรอกโค้ด MTIH1200 รับคืน 1,200 Shopee Coins / เบี้ยประกันภัย 17,001-20,000 บาทขึ้นไป กรอกโค้ด MTIH1500 รับคืน 1,500 Shopee Coins / เบี้ยประกันภัย 20,000 บาทขึ้นไป กรอกโค้ด MTIH2000 รับคืน 2,000 Shopee Coins และรับสิทธิ์ผ่อนชำระเบี้ยประกันภัย 0% นานสูงสุดถึง 10 เดือน ประกันภัยรถยนต์ ได้แก่ 2+ Care , 3+ Care , 2+ Save , 3+ Save ให้คุณขับขี่ได้อย่างปลอดภัย อุ่นใจในทุกการเดินทาง คุ้มครอง ครอบคลุม ครบครัน ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายต่อตัวรถยนต์ทั้ง รถชนรถ รถหาย ไฟไหม้ หรือรถยนต์เสียหายจากอุบัติเหตุ เพียงลูกค้าทำรายการซื้อประกันภัย กรอกโค้ด MTIT500S พร้อมรับ Coins คืนสูงสุดถึง 500 บาทต่อการทำรายการแต่ละครั้ง พร้อมให้คุณได้อุ่นใจไปกับโปรโมชันดีลดีประกันภัยสุดคุ้ม ในแคมเปญ Shopee 10.10 แบรนด์ดังปังเต็มสิบ กับประกันภัยที่ครบครันเรื่องความคุ้มครอง จาก เมืองไทยประกันภัย และ ช้อปปี้ ได้แล้วตั้งแต่วันนี้จนถึง 31 ต.ค. 2565 นี้ ร่วมรับสิทธิ์พิเศษได้เพียงค้นหาคำว่า Muangthai Insurance Official หรือ เมืองไทยประกันภัย บนแอพพลิเคชัน Shopee / คลิกได้ที่ https://shopee.co.th/muangthai_insuranceแคมเปญส่งเสริมการขายนี้ดำเนินการโดย Shopee และรับเงินคืนเป็น Shopee coins เท่านั้น ทั้งนี้ ลูกค้าควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครอง และเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมผ่าน Call Center 1484 หรือศึกษาข้อมูลและผลิตภัณฑ์ประกันภัยเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ www.muangthaiinsurance.com ****************************** |
สมาคมประกันวินาศภัยไทย ห่วงใยพนักงานกวาดถนนของ กทม. มอบกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุ 9,079 คน
สมาคมประกันวินาศภัยไทย ห่วงใยพนักงานกวาดถนนของ กทม. มอบกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุ 9,079 คน นายอานนท์ วังวสุ นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย เปิดเผยว่า จากการที่สมาคมฯ ร่วมกับภาคธุรกิจประกันวินาศภัยได้ให้ความร่วมมือกับกรุงเทพมหานครโดยการสนับสนุนหมวกนิรภัยให้กับนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 126,117 คน ที่เดินทางโดยสารรถจักรยานยนต์ไปเรียน ได้มีหมวกนิรภัยสวมใส่เพื่อความปลอดภัยในการเดินทางตามโครงการส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัย 100 เปอร์เซ็นต์ไปแล้วนั้น สมาคมฯ ยังมีความห่วงใยเรื่องความปลอดภัยของพนักงานกวาดถนนของ กทม. ที่ต้องปฏิบัติหน้าที่อยู่บนความเสี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุทางถนนอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจากสถิติย้อนหลังตั้งแต่ปี 2561-2565 พบว่ามีพนักงานกวาดถนนของ กทม. ถูกรถเฉี่ยวชนขณะปฏิบัติหน้าที่จนทำให้เสียชีวิตรวม 10 ราย และยังไม่รวมถึงกรณีที่ได้รับบาดเจ็บ สูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพก็มีจำนวนไม่น้อยเช่นกัน แม้ว่าทาง กทม. จะมีสวัสดิการในการจ่ายค่าดูแลรักษาพนักงานดังกล่าวอยู่ส่วนหนึ่ง แต่พนักงานยังขาดความคุ้มครองในเรื่องของการประกันภัยอุบัติเหตุที่จะช่วยเข้ามาดูแลในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุหรือเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้นเพื่อช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนจากการสูญเสียชีวิตให้กับบุคคลในครอบครัวได้อีกทางหนึ่ง สมาคมฯ ได้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวและมีความห่วงใยในสวัสดิภาพพนักงานกวาดถนนของ กทม. จึงได้มอบกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุให้กับพนักงานกวาดถนนของ กทม. จำนวน 50 เขต ทั้งลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราว รวมทั้งสิ้น 9,079 คน ระยะเวลาเอาป+ระกันภัย 1 ปี จำนวนเงินเอาประกันภัย 100,000 บาทต่อคน รวมจำนวนเงินเอาประกันภัยทั้งสิ้น 907,900,000 บาท โดยกรมธรรม์ดังกล่าวให้ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิต สูญเสียมือ เท้า สูญเสียสายตา หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง เนื่องจากอุบัติเหตุ (อบ.1) ตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงคุ้มครองการถูกฆาตกรรมหรือถูกทำร้ายร่างกาย รวมทั้งการเกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ด้วย โดยสมาคมฯ เป็นผู้สนับสนุนค่าเบี้ยประกันภัย ร่วมกับบริษัทสมาชิกอีก 3 บริษัท ได้แก่ บมจ.กรุงเทพประกันภัย บมจ.ธนชาตประกันภัย และ บมจ.เอ็ม เอส ไอ จี ประกันภัย (ประเทศไทย) ร่วมสมทบค่าเบี้ยประกันภัยอีกส่วนหนึ่ง และ บมจ.คุ้มภัยโตเกียวมารีนประกันภัย (ประเทศไทย) เป็นบริษัทผู้รับประกันภัย ซึ่งกรมธรรม์ดังกล่าวได้เริ่มให้ความคุ้มครองตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2565 ถึง วันที่ 24 สิงหาคม 2566 ทั้งนี้ สมาคมฯ ได้จัดพิธีมอบกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่มพนักงานกวาดถนนของ กทม. โดยมีนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้เกียรติรับมอบกรมธรรม์พร้อมด้วยคณะผู้บริหารของ กทม. เข้าร่วมงาน เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2565 ณ อาคารสมาคมประกันวินาศภัยไทย ซอยสุขุมวิท 64/1 ![]() “การมอบกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุให้กับพนักงานกวาดถนนของ กทม. ในครั้งนี้ ถือเป็นการนำเอาระบบประกันภัยมาช่วยบริหารความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นให้กับพนักงานกวาดถนนของ กทม. ซึ่งถือเป็นความร่วมมือกันตามนโยบายของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของบุคลากรของ กทม. และเพื่อสร้างหลักประกันและความอุ่นใจให้กับพนักงานกวาดถนนทุกคนสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการดูแลพื้นที่ของ กทม. ให้มีความสะอาด เป็นระเบียบ และสวยงามต่อไป” นายอานนท์ กล่าวทิ้งท้าย ----------------------------- |
THAIFA จัดงานมอบรางวัล APFinSA Awards 2022
THAIFA จัดงานมอบรางวัล APFinSA Awards 2022 สมาคมที่ปรึกษาการเงินแห่งเอเชียแปซิฟิก (Asia Pacific Financial Services Association) หรือ APFinSA นำโดย Mr. Matthew Kang ประธาน APFinSA ร่วมกับ สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน (THAIFA) นำโดย นายฐิติ ยศอนันตกุล นายกสมาคมฯ จัดงานมอบรางวัล APFinSA Awards ครั้งที่ 3 ประจำปี 2022 อย่างยิ่งใหญ่อีกครั้งหลังวิกฤติโควิด ให้แก่ 419 ตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงินผู้พิชิตคุณวุฒิ เมื่อวันพุธที่ 28 กันยายน 2565 เวลา 11.00 – 16.00 น. ณ เดอะ แบงเควท ฮอลล์ แอท นาทอง กรุงเทพฯ การมอบรางวัลในครั้งนี้ ถือเป็นเชิดชูเกียรติและเป็นกำลังใจให้แก่ตัวแทนประกันชีวิต ที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพและยกระดับความเป็นมืออาชีพในการทำงาน เพื่อให้ได้รับการยอมรับในระดับมาตรฐานสากล โดยได้รับเกียรติจาก ท่านปลัดกระทรวงการคลัง นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ เป็นประธานกิตติมศักดิ์กล่าวเปิดงาน และมอบรางวัลคุณวุฒิของผู้บริหารตัวแทน ระดับ Leadership Award Platinum, ระดับ Leadership Award Diamond และระดับ Leadership Award Gold ตามลำดับ ในส่วนของรางวัลคุณวุฒิของระดับตัวแทนประกันชีวิต ได้รับเกียรติจาก นายชูฉัตร ประมูลผล รองเลขาธิการ ด้านกำกับ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย กล่าวแสดงความยินดีแก่ผู้รับรางวัลทุกท่าน และมอบรางวัลระดับ APFinSA Pinnacle Award , นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย ให้เกียรติกล่าวแสดงความยินดี และมอบรางวัลให้แก่ผู้พิชิตคุณวุฒิระดับ APFinSA Star Award , Mr. Matthew Kang ประธาน APFinSA กล่าวแสดงความยินดี และมอบรางวัลให้แก่ผู้พิชิตคุณวุฒิระดับ APFinSA Excellence Award พร้อม นายบรรยง วิทยวีรศักดิ์ อดีตนายก THAIFA /ประธานผ่านพ้น APFinSA และนายฐิติ ยศอนันตกุล นายกสมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน (THAIFA) รางวัลระดับ APFinSA Pinnacle Award ได้รับเกียรติมอบโดยอดีตนายก THAIFA 4 ท่าน ได้แก่ นายมนตรี แสงอุไรพร , นายบุญชัย หรูตระกูล , นายบรรยง วิทยวีรศักดิ์ , นายทวีเดช งามขจรกุล พร้อมด้วย Mr. Edmund Wee Co-Chairman, APFinSA Awards และ นายณัฐกิตติ์ เงาวิจิตรไพศาล ประธานจัดงาน APFinSA Awards 2022 ทั้งนี้ ประเทศไทยภายใต้การนำของ นายฐิติ ยศอนันตกุล นายกสมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน เป็นเพียงประเทศเดียวที่ได้รับความไว้วางใจจาก APFinSA ให้จัดพิธีมอบรางวัลให้ผู้ที่ได้รับรางวัลภายในประเทศ คู่ขนานไปกับประเทศเจ้าภาพหลัก โดยในปีนี้ ประเทศไทยมีผู้ที่ผ่านเกณฑ์การแข่งขันและได้รับรางวัล ทั้งสิ้น 419 ท่านจาก 11 บริษัทประกันชีวิต ได้แก่ บริษัท เอไอเอ จำกัด จำนวน 256 ท่าน บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) จำนวน 42 ท่าน บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) จำนวน 34 ท่าน บริษัท กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) จำนวน 26 ท่าน บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) จำนวน 24 ท่าน บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) จำนวน 18 ท่าน บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จำนวน 8 ท่าน บริษัท ชับบ์ ไลฟ์ แอสชัวรันซ์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 6 ท่าน บริษัท ฟิลลิปประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) จำนวน 3 ท่าน บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) จำนวน 1 ท่าน และบริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) จำนวน 1 ท่าน ประเภทตัวแทนประกันชีวิต มี 4 ระดับ ได้แก่ 1. ระดับ APFinSA Award สำหรับตัวแทนที่มีเบี้ยประกันปีแรก (FYP) 1,300,000 บาท มีผู้รับรางวัลจำนวน 254 ท่าน 2. ระดับ Excellence Award สำหรับตัวแทนที่มีเบี้ยประกันปีแรก (FYP) 2,600,000 บาท มีผู้รับรางวัลจำนวน 100 ท่าน 3. ระดับ Star Award สำหรับตัวแทนที่มีเบี้ยประกันปีแรก (FYP) 6,500,000 บาท มีผู้รับรางวัลจำนวน 31 ท่าน 4. ระดับ Pinnacle Award สำหรับตัวแทนที่มีเบี้ยประกันปีแรก (FYP) 13,000,000 บาท มีผู้รับรางวัล จำนวน 23 ท่าน ประเภทผู้บริหารหน่วย มี 3 ระดับ ได้แก่ 1. ระดับ Leadership Award Gold สำหรับผู้บริหารหน่วยที่มีตัวแทนภายใต้สังกัด เข้ารับรางวัล 3 ท่านขึ้นไป มีผู้รับรางวัลจำนวน 6 ท่าน 2. ระดับ Leadership Award Diamond สำหรับผู้บริหารหน่วยที่มีตัวแทนภายใต้สังกัด เข้ารับรางวัล 5 ท่านขึ้นไป มีผู้รับรางวัล จำนวน 3 ท่าน 3. ระดับ Leadership Award Platinum สำหรับผู้บริหารหน่วยที่มีตัวแทนภายใต้สังกัด เข้ารับรางวัล 10 ท่านขึ้นไป มีผู้รับรางวัล จำนวน 2 ท่าน และสำหรับรางวัล APFinSA Awards ครั้งที่ 4 ประจำปี 2023 ซึ่งจะจัดขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์ ในเดือนพฤษภาคม และในประเทศไทย ในเดือนกันยายน นั้น ทาง APFinSA ยังคงใช้กฎเกณฑ์ผลผลิตเช่นเดียวกับรางวัล APFinSA Awards ครั้งที่ 3 โดยจะเริ่มเปิดรับสมัครตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565 เป็นต้นไป คณะผู้จัดงานเชื่อว่า รางวัลคุณวุฒิ APFinSA Awards จะสร้างกำลังใจให้แก่ตัวแทนประกันชีวิตในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่มีความมุ่งมั่นในการทำงาน เพื่อให้ถึงความสำเร็จก้าวแรกในอุตสาหกรรมประกันชีวิต เพื่อปูทางสู่ความเชื่อมั่นในการยกระดับความเป็นมืออาชีพ และความสำเร็จที่มากขึ้นในระดับต่อไป |
เปิดตัวแพลตฟอร์มการเรียนรู้การวางแผนการเงิน FA STATION
รู้จริง!รู้ลึก เรื่องการวางแผนการเงิน เรียนจบมีงานทำทันที ถึงเวลา! เปิดตัวแพลตฟอร์มการเรียนรู้การวางแผนการเงิน FA STATION วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน 2565 เวลา 13:00น ณ โรงแรมแชงกรีล่า กรุงเทพ ห้องบอลรูม ประชาชนทุกสาขาอาชีพ สามารถกดสมัครเรียนรู้ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายผ่านเว็บไซต์ FA STATION จบครบในที่เดียว โดยวิทยากรระดับประเทศกว่า 30 ท่าน FA STATION เป็นสถานีการเรียนรู้ด้านการวางแผนการเงินออนไลน์ครบวงจร จากกูรูตัวจริงที่นำประสบการณ์การทำงานที่ประสบความสำเร็จมาแนะนำทั้งภาคทฤษฎี และปฎิบัติ มากกว่า 300 คลิป ตั้งแต่พื้นฐาน ไปจนถึงเรื่องยากๆ โดยผู้เรียนสามารถชมออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมง โดยสามารถถาม-ตอบ แบบสดๆ ผ่านช่องทางส่วนตัวกับวิทยากรได้อีกด้วย จากแนวคิด "Learn Your Class with Your Master" วิทยากรจิตอาสาทั้ง 30 ท่าน จากหลากสมาคม องค์กรและ CEO การเงินบริษัทชั้นนำของประเทศ อาทิ คุณชลเดช เขมะรัตนา (นายกสมาคมฟินเทค(TFA) และผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน การลงทุนและเทคโนโลยี), คุณกมลวรรณ สุชาตานนท์ (CEO บลป.โรโบเวลธ์ & FA STATION), คุณพันธ์ศักดิ์ พสุกุลพันธ์ (CEO Wealth24hrs & Co Founder FA STATION), คุณดุษณี เกลียวปฏินนท์ (วิทยากรที่มีประสบการณ์ทำงานด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์และการเป็นนักลงทุน ได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายให้สมาคม องค์กรและตลาดหลักทรัพย์),คุณมงคล ลุสัมฤทธิ์ (นายกสมาคมผู้บริหารธุรกิจประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน GAMA) เป็นต้น โดยทุกหลักสูตรจะไม่มีค่าใช้จ่าย สำหรับการเรียนรู้เพื่อไปวางแผนให้ตนเองและครอบครัว และไปประกอบวิชาชีพ ที่ปรึกษาการเงินอิสระ นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรพิเศษของวิทยากร ที่เปิดคลาสสอนออนไลน์ในราคาพิเศษสุดๆ ที่ไม่เคยบรรยายที่ไหนมาก่อนให้เลือกเรียนได้ ทุกหลักสูตรถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับประชาชนคนไทยทุกสาขาอาชีพ ทั้งนักเรียน นักศึกษา คนรุ่นใหม่ที่สามารถเข้าถึงแพลตฟอร์มนี้ได้ เรียนรู้ก่อนและก้าวทันโลกการเงิน คุณชลเดช เขมะรัตนา นายกสมาคมฟินเทคประเทศไทย(TFA) กล่าวว่า “ในโลกการเงินในปัจจุบัน เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันในทุกมิติมากกว่าในอดีต ประชาชนทุกคนเริ่มเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีและปรับตัวได้มากขึ้น เเต่ยังไม่มีการเรียนรู้ การสอนอย่างมีระบบ ถึงมีก็ยังมีค่าใช้จ่ายที่สูง ประชาชนขาดโอกาสอีกมากโดยเฉพาะเรื่อง การวางแผนการเงินที่ทุกคน ทุกอาชีพต้องเกี่ยวข้อง ขาดวางแผนการเงินของตนเองและครอบครัว จึงทำให้มีหนี้เสียจำนวนมากเป็นปัญหาในหนี้ภาครัวเรือน ผมจึงขอชื่นชมโครงการFA STATION ที่เกิดขึ้นมาในช่วงเวลาที่เหมาะสมภายใต้การร่วมแรง ร่วมใจการแบ่งปันของวิทยากรจิตอาสาทุกท่าน” คุณกมลวรรณ สุชาตานนท์ CEO INDEGO & FA STATION ได้กล่าวว่า “ด้วยสถานการณ์ของโรคไวรัสโควิด-19 ที่ระบาดทั่วโลกในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประชากรทั่วโลก โดยเฉพาะพี่น้องประชาชนคนไทยทุกสาขาอาชีพได้รับผลกระทบในหลายๆ ด้านโดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจ การตกงานและปัจจุบันระดับหนี้ครัวเรือนของไทยอยู่ในระดับที่น่ากังวล ไม่ว่าจะเทียบกับในอดีตหรือเทียบกับต่างประเทศ โดยข้อมูล ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 ปี 2564 ชี้ว่าระดับหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทยเพิ่มขึ้นสูงถึง 89.3% และเมื่อเทียบกับต่างประเทศ ไทยมีระดับหนี้ครัวเรือนต่อ GDP สูงเป็นอันดับที่ 12 จาก 70 ประเทศทั่วโลก และสูงเป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียรองจากประเทศเกาหลีใต้ นี่คือเหตุผลสำคัญที่เกิดโครงการ FA STATION ที่เป็นสถานีของการเรียนรู้การวางแผนการเงิน สอนให้รู้จริง ทำได้และวางแผนได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เป็นเจตนารมณ์ร่วมกันของวิทยากรทุกๆคนค่ะ” คุณพันธ์ศักดิ์ พสุกุลพันธ์ CEO Wealth24hrs ในฐานะหัวเรี่ยวหัวแรงของการปั้นแพลตฟอร์มนี้มากว่า2ปีได้กล่าวว่า “เราอยากให้ประชาชนคนไทยทุกสาขาอาชีพ โดยเฉพาะน้องๆ นักศึกษาชั้นปีสุดท้ายได้เรียนรู้ก่อน เพราะคือวัยที่กำลังต้องการข้อมูลในการวางแผนชีวิตเข้าสู่โลกใบใหม่ของการเริ่มต้นทำงาน เริ่มต้นที่จะวางแผนการเงินจากเงินเดือนๆ เเรกของชีวิต ถ้ารู้ก่อนจะได้เปรียบในทุกมิตินับจากวันที่เรารู้ เราสามารถที่จะเตรียมตัว วางแผนชีวิตได้ดี เพื่ออนาคตที่ดีได้ไม่ยาก นอกจากนี้เเล้ว FA STATION ยังวางแผนการทำ งานด้านนี้ เปิดโอกาสในการทำอาชีพที่ปรึกษาการเงินอิสระในช่วงที่รองานประจำ หรือจะทำเต็มตัวได้ทันทีเมื่อจบคอร์สเรียน จึงขอฝากทุกท่านช่วยกันประชาสัมพันธ์ในโครงการนี้ เพื่อช่วยเหลือสนับสนุนให้ทุกคนเข้าถึงแพลตฟอร์มดีๆ เช่นนี้ โดยสามารถสมัครเรียนรู้ด้วยตนเองผ่าน www.FASTATION.co.th โดยเริ่มรับสมัครวันเเรกในวันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน 2565 เป็นต้นไป” |
สมาคมประกันวินาศภัยไทย คาดการณ์ผลประกอบการธุรกิจประกันวินาศภัย ปี 65 เติบโต 3.5%-4.5%
สมาคมประกันวินาศภัยไทย คาดการณ์ผลประกอบการธุรกิจประกันวินาศภัย ปี 65 เติบโต 3.5%-4.5% ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ พร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนโครงการธนาคารน้ำใต้ดินทุ่งกุลาร้องไห้ตามแนวคิด ESG เพื่อพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน สมาคมประกันวินาศภัยไทย แถลงผลประกอบการธุรกิจประกันวินาศภัย ตั้งแต่เดือนมกราคม - เดือนมิถุนายน 2565 รวม 6 เดือนที่ผ่านมา มีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงรวม 132,741 ล้านบาท เติบโต 2.1% โดยคาดการณ์ทั้งปี 2565 เติบโต 3.5%-4.5% มีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงรวม 272,000-274,600 ล้านบาท และคาดว่าปี 2566 จะมีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงรวม 282,200-287,900 ล้านบาท หรือเติบโตราว 4.5%-5.5% จากการที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว นายอานนท์ วังวสุ นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย เปิดเผยถึงภาพรวมผลประกอบการธุรกิจประกันวินาศภัยในปี 2565 ว่า ปีนี้ถือว่าเป็นปีที่ภาวะเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวหลังจากถดถอยมาจากปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม แม้ธุรกิจประกันวินาศภัยต้องฝ่าฟันผลกระทบต่าง ๆ ทั้งจากสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ช่วงต้นปีถึงกลางปี และความไม่แน่นอนทางการเมืองซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการลงทุน แต่ผลประกอบการธุรกิจประกันวินาศภัยรวม 6 เดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม - เดือนมิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา (ไตรมาส 2 ปี 2565) ยังคงมีอัตราการเติบโต 2.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงรวม 132,741 ล้านบาท โดยการประกันภัยแต่ละประเภทยังคงมีแนวโน้มการเติบโตที่ดี สำหรับแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจประกันวินาศภัย ปี 2565 ทั้งปีนั้น สำนักงานอัตราเบี้ยประกันวินาศภัย (IPRB) สมาคมประกันวินาศภัยไทย ประมาณการว่า จะเติบโตราว 3.5%-4.5% มีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงรวม 272,000-274,600 ล้านบาท โดยการประกันภัยแทบทุกประเภทมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นจากการที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว สถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 เริ่มคลี่คลาย มูลค่าการส่งออกและนำเข้าสินค้าที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ยอดจำหน่ายรถยนต์ที่เพิ่มมากขึ้นกว่าปีที่แล้ว การท่องเที่ยวทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้ส่งผลดีต่อการประกันภัย และคาดการณ์ว่าปี 2566 จะมีอัตราการเติบโตราว 4.5%-5.5% เบี้ยประกันภัยรับโดยตรงรวม 282,200-287,900 ล้านบาท อันเป็นผลมาจากการที่ภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นตามลำดับ นายกี่เดช อนันต์ศิริประภา ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมประกันวินาศภัยไทย กล่าวถึงรายละเอียดผลประกอบการธุรกิจประกันวินาศภัยประเภทต่าง ๆ ณ ไตรมาส 2 (มกราคม-มิถุนายน) ของปี 2565 ว่า เป็นส่วนของเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงของการประกันภัยรถยนต์จำนวน 75,453 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 4.0%) โดยเพิ่มขึ้นจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภาพรวมและการคลี่คลายของปัญหาชิ้นส่วนในการผลิตขาดตลาด ส่งผลให้ยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้จำนวนกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์มีแนวโน้มสูงขึ้น รวมถึงผลกระทบจากเบี้ยประกันภัยเฉลี่ยต่อกรมธรรม์ของการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้จะส่งผลให้เบี้ยประกันภัยรับโดยตรงของการประกันภัยรถยนต์ทั้งปี 2565 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นด้วย ในขณะที่เบี้ยประกันภัยรับโดยตรงของการประกันอัคคีภัยมีจำนวน 5,325 ล้านบาท (ลดลง 3.4%) โดยลดลงตามมูลค่าการปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่ลดลงในครึ่งปีแรก ส่วนเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงของการประกันภัยทางทะเลและขนส่งมีจำนวน 3,553 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 12.4%) โดยเพิ่มขึ้นจากการที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ความต้องการที่มากขึ้นของผู้บริโภคซึ่งส่งผลดีต่อการประกันภัยขนส่ง มูลค่าการส่งออกและนำเข้าสินค้าที่เพิ่มมากขึ้น และเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงของการประกันภัยเบ็ดเตล็ดมีจำนวน 48,411 ล้านบาท (ลดลง 0.8%) โดยลดลงจากการที่เบี้ยประกันภัย COVID-19 กว่า 6,000 ล้านบาทหายไปจากตลาด อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการประกันภัยการเดินทาง ซึ่งอยู่ในกลุ่มของการประกันภัยเบ็ดเตล็ดนั้น มีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงเพิ่มสูงขึ้นมากเป็น 1,243 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 238.6%) สืบเนื่องมาจากการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ ตลอดจนการเปิดประเทศและการคลายกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เอื้ออำนวยให้เกิดการเดินทางระหว่างประเทศได้มากขึ้น สำหรับอัตราความเสียหาย (Loss Ratio) ของการประกันวินาศภัยประเภทต่าง ๆ ณ ไตรมาส 2 (มกราคม - มิถุนายน) ของปี 2565 นั้น พบว่า อัตราความเสียหายโดยรวมของการประกันภัยทุกประเภทนั้นเท่ากับ 121.0% โดยอัตราความเสียหายของการประกันภัยรถยนต์เท่ากับ 55.3% อัตราความเสียหายของการประกันอัคคีภัยเท่ากับ 21.9% อัตราความเสียหายของการประกันภัยทางทะเลเท่ากับ 36.6% และอัตราความเสียหายของการประกันภัยเบ็ดเตล็ดเท่ากับ 300.9% โดยสาเหตุที่อัตราความเสียหายของการประกันภัยเบ็ดเตล็ดสูงขึ้นมากนั้นเป็นเพราะรวมความเสียหายของการประกันภัย COVID-19 ในช่วงไตรมาส 1 และไตรมาส 2 ที่มีการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสูงมาก ในส่วนของโครงการประกันภัยพืชผล ปีการผลิต 2564 ที่กำลังจะสรุปปิดโครงการนั้น มีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงรวม 3,823.7 ล้านบาท หรือคิดเป็น 1.5% ของเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงรวมทั้งหมดของการประกันภัยทุกประเภท โดยเป็นเบี้ยประกันภัยข้าวนาปี 3,568.4 ล้านบาท และเบี้ยประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 255.3 ล้านบาท ส่วนอัตราความเสียหายของการประกันภัยข้าวนาปีนั้นเท่ากับ 47.8% ในขณะที่อัตราความเสียหายของการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เท่ากับ 22.5% ซึ่งในรอบปีที่ผ่านมาไม่มีความเสียหายขนาดใหญ่หรือความเสียหายในวงกว้างเกิดขึ้นมากนักกับแปลงเพาะปลูกที่เอาประกันภัยในโครงการฯ นายอานนท์ วังวสุ กล่าวเสริมว่า นอกจากการทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้ธุรกิจประกันวินาศภัยเป็นเสาหลักของระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างยั่งยืนของสมาคมประกันวินาศภัยไทยที่ได้ดำเนินการต่อเนื่องอย่างยาวนานเป็นเวลา 55 ปีแล้ว สมาคมฯ ยังมีเป้าประสงค์ให้ธุรกิจประกันวินาศภัยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนเคียงคู่สังคมไทย สมาคมฯ จึงได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานตามพันธกิจที่คำนึงถึงความรับผิดชอบ 3 ด้านหลักตามแนวคิด ESG ซึ่งเป็นแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืน คือ คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) และธรรมาภิบาล (Governance) ทั้งนี้ สมาคมฯ ได้ยึดมั่นดำเนินงานตามหลักธรรมภิบาลรวมทั้งให้การสนับสนุนกิจกรรมและโครงการที่สร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม สังคม เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจประกันวินาศภัยไทยมาโดยตลอด หนึ่งในโครงการที่สร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่สมาคมประกันวินาศภัยไทยได้ดำเนินการและให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง นั่นคือ โครงการบริหารจัดการแหล่งน้ำชุมชนเพื่อการมีน้ำใช้อย่างสมดุลและยั่งยืน หรือ "โครงการธนาคารน้ำใต้ดิน" เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ที่ประสบปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมให้มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถประกอบอาชีพได้โดยไม่ต้องประสบกับภัยแล้งและน้ำท่วมซ้ำซาก ตามเจตนารมณ์ของสมาคมฯ ในการเปลี่ยนให้พื้นที่ "ทุ่งกุลาร้องไห้ เป็น ทุ่งกุลายิ้มได้" โดยสมาคมประกันวินาศภัยไทย ในฐานะผู้บริหารโครงการประกันภัยข้าวนาปี มาตั้งแต่ปี 2554 ได้มีการจัดตั้งกองทุนประกันภัยข้าวนาปีขึ้น ตั้งแต่ปี 2559 ซึ่งเป็นเงินสมทบจาก "บริษัท" ที่เข้าร่วมรับประกันภัย และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กองทุนประกันภัยพืชผล" เมื่อปี 2561 เนื่องจากมีโครงการประกันภัยพืชอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อช่วยเหลือเยียวยาให้กับผู้เอาประกันภัยข้าวนาปี กรณีที่พื้นที่ที่เอาประกันภัยประสบภัยพิบัติ แต่ไม่ได้อยู่ในเขตพื้นที่ประกาศเขตให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน สมาคมฯ จึงนำเงินนี้บางส่วนมาช่วยเหลือเกษตรกรให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ไม่ต้องประสบกับภัยแล้งและน้ำท่วมซ้ำซาก โดยได้เลือกพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่แห้งแล้งที่สุดของประเทศไทย และประสบปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมซ้ำซากอยู่เป็นประจำ มาเป็นพื้นที่นำร่องในการดำเนินโครงการธนาคารน้ำใต้ดินดังกล่าว โครงการธนาคารน้ำใต้ดินข้างต้นเป็นโครงการที่สมาคมประกันวินาศภัยไทย ได้ร่วมกับ สถาบันน้ำนิเทศศาสนคุณ โดยพระนิเทศศาสนคุณ (หลวงพ่อสมาน สิริปัญโญ) ดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน โดยได้ดำเนินการจัดทำโครงการธนาคารน้ำใต้ดินในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้อย่างเต็มรูปแบบไปแล้วรวมทั้งสิ้น 3 โครงการ ได้แก่ ธนาคารน้ำใต้ดิน "หนองฮีโมเดล" ตำบลดูกอึ่งและตำบลเด่นราษฎร์ อำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด ธนาคารน้ำใต้ดินตำบลสระคู อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด และ ธนาคารน้ำใต้ดิน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตร้อยเอ็ด ณ ทุ่งกุลาร้องไห้ ตำบลหินกอง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด รวมใช้งบประมาณทั้งสิ้น 45,485,500 บาท ครอบคลุมพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้กว่า 169,475 ไร่ หรือคิดเป็น 8.4% ของพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ทั้งนี้ ในปี 2565 สมาคมฯ ยังได้ขยายพื้นที่การดำเนินโครงการธนาคารน้ำใต้ดินในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ณ ตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ใช้งบประมาณรวม 16,131,500 บาท ครอบคลุมพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้เพิ่มขึ้นอีก 47,052 ไร่ ซึ่งปัจจุบันโครงการนี้กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการ โดยหากโครงการนี้แล้วเสร็จ การทำธนาคารน้ำใต้ดินในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ทั้ง 4 โครงการนี้จะส่งผลให้น้ำใต้ดินแผ่กระจายไปโดยรอบตามทิศทางการเคลื่อนตัวของโลก การเติมน้ำลงใต้ดินมีประสิทธิภาพสูงสุด เกิดแหล่งน้ำใต้ดินเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ ส่งผลให้พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ในบริเวณเครือข่ายนี้มีความชุ่มชื้นและดูดซับน้ำได้มากขึ้น ลดปัญหาการเกิดภัยแล้งและน้ำท่วม ช่วยให้คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของชาวบ้านในพื้นที่ดีขึ้นเนื่องจากมีน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคอย่างเพียงพอและยั่งยืนต่อไป นอกจากนี้ หากโครงการธนาคารน้ำใต้ดินในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ที่สมาคมฯ ดำเนินการอยู่นี้ประสบผลสำเร็จในการลดปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมก็จะเป็นโครงการตัวอย่างให้ภาครัฐหรือหน่วยงานเอกชนที่ต้องการทำโครงการเพื่อสังคมอย่างยั่งยืนสามารถนำไปดำเนินการขยายผลทำธนาคารน้ำใต้ดินในพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศไทยได้ต่อไปด้วย |
OCEAN LIFE ไทยสมุทร ผนึกพลังความรักขับเคลื่อนธุรกิจพร้อมความยั่งยืน ชูนโยบาย “Sustainable with Love”
OCEAN LIFE ไทยสมุทร ผนึกพลังความรักขับเคลื่อนธุรกิจพร้อมความยั่งยืน ชูนโยบาย “Sustainable with Love” สร้างสรรค์โลกที่มั่นคงปลอดภัยให้คนรุ่นต่อไป บมจ.ไทยสมุทรประกันชีวิต รักคือพลังของชีวิต โดยคุณนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ (CEO) ตระหนักดีว่าโลกกำลังเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ รอบด้าน ทั้งวิกฤตโรคระบาด เศรษฐกิจการเมืองระดับโลก การขาดแคลนทรัพยากร ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สร้างผลกระทบมากขึ้นทุกที ในฐานะที่บริษัทอยู่ในวงการธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการดูแลความเสี่ยง สร้างความมั่นคงในชีวิตให้กับประชาชน จึงเป็นหน้าที่ที่จะขับเคลื่อนธุรกิจไปพร้อมกับความรับผิดชอบถึงผลกระทบทุกด้านที่จะเกิดขึ้นในอนาคตของคนรุ่นต่อไป ดังนั้น OCEAN LIFE ไทยสมุทร จึงได้เดินหน้าตามแผนกลยุทธ์ที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันสร้างอนาคตที่มั่นคงปลอดภัยสำหรับทุกคน ด้วยการประกาศนโยบายด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน “Sustainable with Love รักคือพลังสร้างความยั่งยืน” ให้สอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) และได้ Kick Off กิจกรรมแรกอย่างเป็นทางการ ด้วยโครงการ OCEAN LIFE Plant with Love ร่วมปลูกต้นไม้ 2,000 ต้นเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับกรุงเทพมหานคร โดยในลำดับต่อไปบริษัทจะขยายไปสู่พื้นที่ต่าง ๆ ที่เรามีอยู่ทั่วประเทศ เพื่อช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และลดโลกร้อน ซึ่งเป็นหนึ่งในปัญหาหลักที่ต้องรีบแก้ไขอย่างเร่งด่วน พร้อมเผยผลการดำเนินงานใน 7 เดือนของปี 2565 (มกราคม – กรกฎาคม 2565) สามารถสร้างกำไรสุทธิ 1,013 ล้านบาท มีรายได้จากเบี้ยประกันชีวิตรับรวม 8,365 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 3% “ความรัก” หัวใจสำคัญในการเอาชนะวิกฤต จากความจริงที่ว่าการทำประกันชีวิต มีจุดเริ่มต้นจากความรักที่มีต่อครอบครัว ต่อบุคคลอันเป็นที่รัก หรือต่อตนเอง ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา OCEAN LIFE ไทยสมุทร ได้ใช้ความรักเป็นแกนหลักในการดำเนินธุรกิจ เริ่มจากการรักในธุรกิจที่ทำเพราะเชื่อว่าเป็นธุรกิจที่ดีก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้คน ต่อยอดทำให้เกิดความรักในอาชีพ รักเพื่อนร่วมงาน และที่สำคัญคือการส่งต่อความรักที่ไปยังลูกค้าของเรา โดยการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วสร้างสรรค์นวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในทุกมิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงภาวะวิกฤตทำให้คุณค่าของความรักเด่นชัด จนเราตกผลึกเป็นคำว่า LOVE MINDSET ประกอบด้วยรัก 3 ด้าน คือ รักสุขภาพ Love Your Health สุขภาพดี พร้อมรับมือกับโรคภัย รักการออมและวางแผนการเงิน Love Your Wealth วางแผนการเงินดี มีเงินสำรอง พร้อมรับมือกับทุกวิกฤต รักโลกและสังคม Love the World สร้างสังคมแห่งการแบ่งปัน ดูแลโลกและสิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่ ทั้งหมดนี้เพื่อสนับสนุนการใช้ความรักเป็นพลังดำเนินชีวิตของคนไทยให้พร้อม เผชิญหน้าโลกวิถีใหม่ สามารถรับมือและก้าวผ่านวิกฤตได้ทั้งในวันนี้และอนาคต ต่อยอดพลังความรักสู่ 3 เสาหลัก และ 2 พลัง สร้างความยั่งยืน ด้วยความเชื่อในพลังความรักดังกล่าว เราจึงต่อยอดจาก LOVE MINDSET ใช้ความรักเป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กร ภายใต้แนวคิด “Sustainable with Love” รักคือพลังสร้างความยั่งยืน ประกอบด้วย 3 เสาหลัก 1. Health – สุขภาพที่ยั่งยืน โดยเราเริ่มต้นจากภายในองค์กร ด้วยการเสริมภูมิคุ้มกันให้กับบุคลากร ด้วยการสนับสนุนให้ทุกคนใส่ใจดูแลสุขภาพทั้งในรูปแบบของการให้ความรู้ และกิจกรรมต่าง ๆ ทั้ง OCEANLYMPIC Healthy Games มหกรรมสุขภาพดีมีภูมิคุ้มกันทั้งกายใจ Ocean Step of Love สะสมก้าวเดินเสริมสุขภาพ และขมรมกีฬาต่าง ๆ จากนั้นจึงส่งต่อไปยังลูกค้าผ่านการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพที่มีครอบคลุมในทุกความต้องการ รวมทั้งการพัฒนานวัตกรรมการบริการดูแลด้านสุขภาพต่าง ๆ ทั้ง Healthcare Ecosystem การบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลร่วมกับ Start up เพื่อยกระดับการบริการ Digital Healthcare Service บริการดูแลสุขภาพ ทั้งก่อนป่วย เมื่อป่วย หลังป่วยให้กับลูกค้า รวมทั้งการสนับสนุนข้อมูลสุขภาพที่จำเป็นกับประชาชนผ่านสื่อ และกิจกรรมสัมมนาต่าง ๆ 2. Wealth – การเงินที่ยั่งยืน เราเชื่อว่าก่อนที่เราจะให้คำปรึกษากับลูกค้าได้ บุคลากรของเราต้องมีความรู้ความสามารถ รวมทั้งทักษะต่าง ๆ ครบถ้วน เพื่อให้ทุกคนมีศักยภาพก้าวสู่การเป็นที่ปรึกษาการเงินมืออาชีพ (Financial Planner) ที่ลูกค้าไว้วางใจให้แนะนำการวางแผนชีวิต และวางแผนการเงินให้ประสบความสำเร็จบรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งใจ นอกจากนั้น OCEAN LIFE ไทยสมุทรยังมีแบบประกันที่ส่งเสริมการวางแผนการเงินอย่างรอบด้าน (Wealth Solution) ครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์ และทุกช่วงเวลาของชีวิต (Product Life Cycle) ให้ทุกคนพร้อมรับมือกับความไม่แน่นอนในวันนี้ และอนาคต ไม่เพียงเท่านั้น ความมั่นคงขององค์กรก็เป็นสิ่งสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงแนวทางการเติบโตอย่างยั่งยืน เพื่อให้ลูกค้าประชาชนมั่นใจได้ว่าเราสามารถดูแลทุกคนได้ตลอดไป ด้วยความแข็งแกร่งทางการเงินที่เชื่อถือได้ ความสามารถในการบริหารจัดการสินทรัพย์และหนี้สิน (Asset and Liability Management) และการบริหารจัดการสินทรัพย์ (Portfolio Management) การบริหารจัดการการเงินอย่างมีความรับผิดชอบ และการบริหารความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน Capital Adequacy Ratio (CAR) อยู่ในระดับที่แข็งแกร่งที่ 405.92 % (ณ เดือนกรกฎาคม 2565) นับว่าเป็นอันดับต้น ๆ ของธุรกิจประกันชีวิต และสูงกว่าเงินกองทุนขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนดที่ 120% 3. World - โลกที่ยั่งยืน โดยสนับสนุนความรักโลก สังคม สิ่งแวดล้อม และมีธรรมาภิบาลตามแนวทาง ESG เพื่อโลกและสังคมที่น่าอยู่ Environment – ด้านสิ่งแวดล้อม ได้จัดการสภาพแวดล้อมองค์กรให้น่าอยู่ พร้อมสร้างจิตสํานึกให้บุคลากรตระหนักและเข้าใจถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม ทั้งการแยกขยะ การลดใช้พลาสติก การใช้วัสดุ Recycle การปลูกต้นไม้เพิ่มพื้นที่สีเขียว และการใช้ทรัพยากรภายในองค์กรอย่างรู้คุณค่า ฯลฯนอกจากนั้น เรายังได้ร่วมสนับสนุนโครงการ Greenhouse Gas Emission Reduction Project ร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจ กลุ่มไดอิจิ เดินหน้าสู่เป้าหมาย ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิให้เป็นศูนย์ (Net Zero) 50% ในปี พ.ศ.2568 และ100% ในปี พ.ศ.2583 นำไปสู่การช่วยลดโลกร้อนอย่างยั่งยืน Social – ด้านสังคม เริ่มด้วยการสร้างชมรม OCEAN LIFE ไทยสมุทรจิตอาสา ปลูกฝังจิตสำนึกแห่งการให้ และสังคมแห่งการแบ่งปัน พร้อมดำเนินโครงการ และกิจกรรมต่าง ๆ โดยมีเป้าประสงค์ในการดูแล และยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคม ชุมชน ผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส และผู้พิการ อาทิ การร่วมดูแลคนไทยในภาวะวิกฤต COVID – 19 ด้วยกิจกรรมหลากหลายภายใต้โครงการ LOVE THAILAND, PROTECT YOUR LOVED ONES อาทิ โครงการโอชิชวนทำดี ร่วมกับจุฬาฯ ผลิตวัคซีน mRNA การเปิดให้ประชาชนใช้บริการ Telemed ปรึกษาแพทย์ Online ฟรี โครงการแยกขวดช่วยหมอ เปลี่ยนขวด PET เป็นชุด PPE ส่งมอบให้โรงพยาบาลทั่วประเทศ และล่าสุด เราได้ทำโครงการ “สอนว่ายน้ำเพื่อรอดชีวิต ช่วยเด็กขาดโอกาส” ร่วมกับครูพายุ และพันธมิตรเพื่อลดการสูญเสียของเด็ก ๆ ซึ่งเป็นอนาคตของชาติจากการว่ายน้ำไม่เป็น Governance – ด้านธรรมาภิบาล ดำเนินธุรกิจตามกรอบจรรยาบรรณ ด้านต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด ทั้งการต่อต้านการทุจริตหรือคอรัปชั่น การเคารพสิทธิมนุษยชน การปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียอย่างเท่าเทียมกัน พร้อมกำหนดนโยบายและส่งเสริมให้พนักงานปฏิบัติ ครอบคลุมทั้งด้านความปลอดภัยสารสนเทศ การบริหารความเสี่ยง การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ ความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล การปฏิบัติดูแลลูกค้า พร้อมการดูแลบริหารจัดการข้อร้องเรียนต่าง ๆ อย่างเป็นธรรม และยุติธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ พร้อม 2 พลังผลักดันที่จะช่วยสนับสนุนให้นโยบายดังกล่าวเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง 1. People, Culture & Partnerships สร้างจิตสำนึกและพันธมิตรสร้างความยั่งยืน ด้วยการสร้างคน สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ยึดมั่นและตระหนักถึงความยั่งยืน คำนึงถึงการยอมรับและผสานความแตกต่างของบุคลากร (Inclusion) รวมทั้งการสนับสนุนความหลากหลายและการอยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียม (Diversity) ควบคู่ไปกับการจับมือพันธมิตรที่มีศักยภาพรอบด้าน 2. Technology & Innovation – สร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีพื้นฐาน สร้างสรรค์นวัตกรรม สนับสนุนเทคโนโลยีที่จะช่วยทำให้การขับเคลื่อนโครงการด้านความยั่งยืนเป็นเรื่องง่าย ก้าวข้ามผ่าน Pandemic สู่ Endemic กับผลงาน 7 เดือนของปี 2565 สำหรับผลการดำเนินงานในรอบ 7 เดือนของปี 2565 (มกราคม – กรกฎาคม 2565) OCEAN LIFE ไทยสมุทร มีรายได้จากเบี้ยประกันชีวิตรับรวม 8,365 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 3% จากปีก่อน โดยมีเบี้ยประกันชีวิตรับปีแรก จำนวน 1,202 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 16% ในขณะที่มีเบี้ยประกันชีวิตรับปีต่อไปที่ 6,675 ล้านบาท และมีอัตราความคงอยู่ของกรมธรรม์ 86% โดยมีเบี้ยประกันรับรวมจากช่องทางตัวแทนเป็นช่องทางหลักจำนวน 6,885 ล้านบาท และสร้างการเติบโตที่โดดเด่นในช่องธนาคาร (Bancassurance) มีอัตราการเติบโตถึง 28% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะเดียวกันบริษัทก็ยังใช้ความสามารถในการบริหารพอร์ตลงทุน จนสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนได้ถึง 5.12% ส่งผลให้มีกำไรสุทธิ 1,013 ล้านบาท สุดท้ายนี้ เชื่อว่านโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืนอันเกิดจากพลังแห่งรัก และความตั้งใจที่จะร่วมกันดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนจะสะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของธุรกิจ เพื่อเติบโตเคียงข้างสังคมไทยอย่างยั่งยืน และพร้อมส่งมอบความรักในรูปแบบของอนาคตที่ดี ที่มาจากความรับผิดชอบในทุกด้านของ OCEAN LIFE ไทยสมุทรให้กับคนรุ่นต่อไป |
คปภ. เปิดเวทีประชุม CEO Insurance Forum 2022 ระดมสมองภาคธุรกิจประกันภัยถอดบทเรียนโควิด
• ก้าวข้ามความเจ็บปวดสู่การร่วมพลังสร้างเกราะป้องกันให้ระบบประกันภัยของไทยมีความแข็งแกร่ง ด้วย 7 มาตรการ เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้รับเกียรติจากนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานกล่าวปาฐกถาพิเศษและเปิดการประชุมผู้บริหารระดับสูงด้านการประกันภัย ประจำปี 2565 (CEO Insurance Forum 2022) ภายใต้แนวคิด “Rebuilding Insurance Resilience to Overcome the VUCA World” ซึ่งเป็นการจัดประชุมในรูปแบบผสมผสาน (หรือ Hybrid Conference) เพื่อเป็นเวทีสื่อสารทิศทางและนโยบายในการพัฒนาธุรกิจประกันภัยไทย รวมทั้ง แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ข้อเสนอแนะ และข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ร่วมกันระหว่างสำนักงาน คปภ. ภาคธุรกิจประกันภัย และผู้เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมประกันภัยไทย ณ ห้องประชุม CRYSTAL ชั้น 3 โรงแรม ดิ แอทธินี โฮเทล แบงค็อก ในโอกาสนี้ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “บทบาทของธุรกิจประกันภัยต่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน” โดยกล่าวตอนหนึ่งว่า ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดีขึ้นมาเป็นลำดับ และคาดว่าภายในปีนี้ประเทศไทยจะพ้นวิกฤตโควิด และจะสามารถดำเนินธุรกิจได้ตามปกติต่อไป โดยแนวโน้มเศรษฐกิจปีนี้คาดการณ์ว่า จะเป็นปกติ อันเนื่องมาจากกลไกทางเศรษฐกิจกลับมาทำงาน ภาคประกันภัยจำเป็นต้อง Rethink และทบทวนบทเรียนต่าง ๆ เพื่อก้าวเดินต่อไปข้างหน้า โดยที่ผ่านมาธุรกิจประกันภัยมีส่วนช่วยดูแลพี่น้องประชาชนผ่านมาตรการต่าง ๆ ถึงแม้ว่าจะมีบางส่วนที่มีปัญหาบ้าง ก็ต้องนำมาทบทวนความเสี่ยง และต้องบริหารความเสี่ยงทั้งในภาวะปกติและไม่ปกติ ความเชื่อมั่นของระบบประกันภัยเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะระบบประกันภัยเป็นส่วนหนึ่งของภาคการเงิน ความเชื่อมั่นมาจากประชาชน โดยธุรกิจประกันภัยนำเงินของประชาชนไปบริหารความเสี่ยงผ่านการลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่เหมาะสม ส่งผลทำให้เกิดความเชื่อมั่นจากระบบประกันภัย ซึ่งระบบประกันภัยมีผู้มีส่วนได้เสีย ประกอบด้วย หน่วยงานกำกับดูแล (Regulator) ธุรกิจประกันภัย (Business) ประชาชนผู้บริโภค (Consumer) และนักคณิตศาสตร์ประกันภัย (Actuary) รวมถึงพนักงานบริษัท ตัวแทนประกันภัย/นายหน้าประกันภัย ซึ่งทั้ง 4 ส่วน มีส่วนสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นในระบบประกันภัยให้กับประชาชน นอกจากนี้ต้องเร่งปรับตัวในเรื่อง Digitalisation ซึ่งระบบดิจิทัลจะเป็นเรื่องหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในช่วงหลังโควิด รวมถึงการให้บริการภาครัฐตามโครงการต่าง ๆ ก็จะใช้ Mobile Appication มากขึ้น เช่นเดียวกับธุรกิจประกันภัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวด้วยว่า หลังจากผ่านพ้นวิกฤตโควิดไปแล้ว ธุรกิจประกันภัยจะเป็นเครื่องมือในการระดมเงินออมไปสู่การลงทุนที่สำคัญจึงต้องเตรียมความพร้อมใน 3 เรื่อง คือ เรื่องที่ 1 ความมั่นคงของระบบประกันภัยที่ต้อง Rebuild ในการบริหารความเสี่ยงโดยเฉพาะในเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัย และการพิจารณาจ่ายค่าสินไหมทดแทน เรื่องที่ 2 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในทุกมิติหรือทุกภาคส่วน และเรื่องที่ 3 การส่งเสริมระบบประกันภัยให้เกิดความยั่งยืน Sustainable Insurance ซึ่งความยั่งยืนในเวทีเอเปคที่จะเกิดขึ้นเดือนตุลาคมนี้จะมีเรื่องความยั่งยืน Sustainable Financial รวมทั้งภาคการเงิน ตลาดทุน และภาคประกันภัย จะทำอย่างไรให้ธุรกิจประกันภัยมีความยั่งยืน เรื่องนี้ก็เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจประกันภัยที่ดำเนินการมาคือ การประกันภัยพืชผลทางการเกษตร ซึ่งรัฐบาลได้ดำเนินการโครงการพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ ได้แก่ การประกันภัยข้าวนาปี และการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเป็นหลักประกันให้เกษตรกรผ่านระบบประกันภัยเข้ามาบริหารจัดการความเสี่ยง และได้ดำเนินการในช่วงหลายปีที่ผ่านมา พบว่าประสบความสำเร็จด้วยดีมาโดยตลอด ซึ่งแน่นอนว่าความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติที่คาดการณ์ไม่ได้ อาจจะทำให้ผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามคาด แต่ช่วยลดภาระภาครัฐในการช่วยเหลือเกษตรกรมีเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงภัยจากธรรมชาติ จึงต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อันจะส่งผลให้เกิดมั่นคงและความเชื่อมั่นอย่างยั่งยืน จากนั้น ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(เลขาธิการ คปภ.) ได้กล่าวบรรยายพิเศษในหัวข้อ “การเสริมสร้างเกราะประกันภัย ภายใต้บริบทโลกใหม่” โดยมีใจความตอนหนึ่งว่า การประชุมผู้บริหารระดับสูงด้านการประกันภัย ประจำปี 2565 (CEO Insurance Forum 2022) ภายใต้แนวคิด “Rebuilding Insurance Resilience to Overcome the VUCA World” เป็นการประชุมที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นปีแห่งการพลิกฟื้นเริ่มต้นใหม่ หลังจากที่ภาคธุรกิจและประชาชนต้องฝ่าฟันกับความท้าทายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเตรียมพร้อมสำหรับการรับมือกับความท้าทาย เพื่อที่จะสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนภายใต้บริบทของความผันผวน (Volatility) ความไม่แน่นอน (Uncertainty) ความซับซ้อน (Complexity) และความคลุมเครือ (Ambiguity) โดยปัจจัยสำคัญที่จะนำพาให้มีการเติบโตโดยสามารถก้าวข้ามความท้าทายต่าง ๆ ภายใต้บริบท VUCA ได้ คือ การเปลี่ยนจากการตั้งรับ (Response) ต่อสถานการณ์และบรรเทาผลกระทบไปสู่ (Resiliency) การสร้างสมดุลและความยืดหยุ่นให้กับระบบประกันภัย รวมถึงการฟื้นฟูและกู้คืนความเชื่อมั่น (Recovery) ได้อย่างทันกาล ดังนั้น ทิศทางการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยในปี 2566 โดยมีโจทย์ใหญ่ที่สำนักงาน คปภ. ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนร่วมกับภาคธุรกิจเพื่อพลิกฟื้นความเชื่อมั่นและเติบโตอย่างยั่งยืนใน 7 มาตรการ คือ มาตรการแรก การเสริมเกราะป้องกัน หรือ Resilience ให้กับภาคธุรกิจ ได้แก่ เร่งเสริมสร้างความแข็งแกร่งของธุรกิจประกันภัยจากภายในอย่างแท้จริง ให้มีความยืดหยุ่น สามารถตอบสนองต่อสภาวการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงที โดยมีฐานะเงินกองทุนที่เข้มแข็งเพื่อรองรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น ในขณะเดียวกันจะเร่งส่งเสริมให้ธุรกิจประกันภัยมีธรรมาภิบาลและการบริหารความเสี่ยงที่ดี เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น โดยส่งเสริมให้ภาคธุรกิจประกันภัยให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงในทุกกระบวนการ ตั้งแต่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัย การพิจารณารับประกันภัย การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย ไปจนถึงการจัดการค่าสินไหมทดแทน มาตรการที่ 2 เร่งปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำกับดูแลที่เน้นในเรื่อง Principle-Based มากขึ้น เพิ่มเติมมาตรการและแนวทาง (Policy Tools) ให้บริษัทประกันภัยดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงการเติบโตในระยะยาว และปรับพอร์ตการรับประกันภัยให้มีความสมดุล พร้อมกับการยกระดับมาตรฐานการบริหารความเสี่ยงของบริษัทประกันภัยให้ครอบคลุมความเสี่ยงที่สำคัญ และสอดคล้องกับรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป มาตรการที่ 3 การถอดบทเรียนจากประกันภัยโควิดแบบเจอ-จ่าย-จบ สำนักงาน คปภ. จะยกระดับกระบวนการให้ความเห็นชอบผลิตภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น มาตรการที่ 4 เร่งขับเคลื่อนการปรับปรุงกฎหมายแม่บท ด้านการประกันภัย ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญในการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย โดยร่าง พ.ร.บ. กลุ่มที่ 2 ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเสริมสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของบริษัท ได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาและการรับฟังความคิดเห็นเป็นการทั่วไปแล้ว อยู่ระหว่างการนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี และการพิจารณาในชั้นรัฐสภาต่อไป สำหรับร่าง พ.ร.บ. กลุ่มที่ 3 ซึ่งเกี่ยวกับการส่งเสริมการควบโอนกิจการและความรับผิดของกรรมการ และร่าง พ.ร.บ. ประกันภัยทางทะเล อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา มาตรการที่ 5 ชูบทบาทของสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง (วปส.) ให้มีบทบาททั้งเสริมสร้างความรู้ให้กับบุคลากรในธุรกิจประกันภัย และส่งเสริมงานวิจัยด้านการประกันภัย เสริมสร้างเผยแพร่องค์ความรู้ ตลอดจนพัฒนาหลักสูตรสำหรับผู้บริหารจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนให้ตอบโจทย์ความต้องการของประกันภัยในยุค New Normal มาตรการที่ 6 กระตุ้นให้ธุรกิจประกันภัยมีการประยุกต์และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอย่างจริงจัง และมาตรการที่ 7 ผลักดันให้ประกันภัยตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนในแต่ละภูมิภาค และเสริมสร้างความเชื่อมั่นจากสาธารณชน เลขาธิการ คปภ. กล่าวด้วยว่า อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนและสร้างเกราะป้องกันให้ธุรกิจประกันภัย คือ ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการช่วยผลักดัน สนับสนุน และขับเคลื่อนมาตรการและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เพื่อให้ธุรกิจประกันภัยมีความเข้มแข็ง และมีบทบาทในการสร้างประโยชน์ต่อประชาชน ภาคธุรกิจ เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งการประชุมครั้งนี้มี Highlight ตรงที่การประชุมกลุ่มย่อยเพื่อเปิดโอกาสให้ภาคธุรกิจประกันภัยและสำนักงาน คปภ. มีการอภิปรายระดมความคิดเห็น เพื่อกลั่นกรองสู่ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ โดยแบ่งกลุ่มย่อยเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มย่อยที่ 1 ภายใต้หัวข้อ “Embracing Prudential Insurance Ecosystem” โดยมี นายชูฉัตร ประมูลผล รองเลขาธิการ ด้านกำกับ เป็นประธานการประชุม สำหรับกลุ่มย่อยที่ 2 ภายใต้หัวข้อ “Digitizing Insurance Supervisory Framework” โดยมี นางสาววสุมดี วสีนนท์ รองเลขาธิการ ด้านตรวจสอบ เป็นประธานการประชุม และกลุ่มย่อยที่ 3 ภายใต้หัวข้อ “Enhancing Trust for Sustainable Insurance” โดยมี นายชัยยุทธ มังศรี รองเลขาธิการ ด้านกฎหมาย คดี และคุ้มครองสิทธิประโยชน์ เป็นประธานการประชุม ซึ่งการประชุมทั้ง 3 กลุ่มย่อยดังกล่าวจะมีเลขาธิการ คปภ. เข้าร่วมประชุมและให้ข้อเสนอแนะอย่างใกล้ชิดทั้ง 3 การประชุมกลุ่มย่อยดังกล่าว ที่ประชุมทั้ง 3 กลุ่ม มีข้อสรุปร่วมกันและเห็นว่าสิ่งที่จะต้องดำเนินการต่อไป มีดังนี้ 1. ภาคธุรกิจประกันภัยต้องมีการเตรียมตัวเพื่อรองรับความเสี่ยงใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้น และสร้างความเชื่อมั่น สร้างภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้เอาประกันภัย 2. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยใหม่ ๆ เพื่อรองรับความเสี่ยงภัยใหม่ที่จะเกิดขึ้นควรใช้ประโยชน์จากโครงการ Insurance Regulatory Sandbox และโครงการ Product Innovation and Tailor-Made Sandbox ให้มากขึ้น 3. นักคณิตศาสตร์ประกันภัยควรจะมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ โดยเฉพาะ นักคณิตศาสตร์ระดับเฟลโล่ (Fellow) ซึ่งต้องพิจารณารับรองผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่จะยื่นขอรับความเห็นชอบมายัง นายทะเบียน 4. เทคโนโลยีขั้นพื้นฐานที่บริษัทประกันภัยควรมี คือ การยืนยันตัวตนของผู้เอาประกันภัย (Know Your Customer : KYC) ในการสนับสนุนการทำธุรกรรมออนไลน์ ซึ่งอาจเป็นระบบ KYC กลาง หรือใช้เทคโนโลยี Blockchain เข้ามาช่วย 5. การรับประกันภัย การจัดการทางบัญชีและการเงิน และการจัดการค่าสินไหมทดแทน บริษัทประกันภัยควรมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการปฏิบัติงาน 6. สำนักงาน คปภ. ควรมีการปรับปรุงกฎระเบียบให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน เพื่อให้การทำธุรกรรมออนไลน์ เช่น การปรับปรุง Free Look Period ของผลิตภัณฑ์การให้ความคุ้มครองการแพ้วัคซีน 7. การปรับปรุงระบบการรายงานการฉ้อฉลประกันภัย 8. การจัดทำฐานข้อมูลกลาง เพื่อใช้ในการติดตามกำกับดูแล การกระทำความผิดของตัวแทนหรือนายหน้าประกันภัย การใช้ฐานข้อมูลสำหรับการประสานความร่วมมือทางคดี 9. การพัฒนาระบบการประสานงานข้อร้องเรียนด้านการประกันภัยโดยการส่งข้อร้องเรียนให้บริษัทประกันภัยที่ถูกร้องเรียนผ่านระบบอีเมล์ของแต่ละบริษัทเพื่อดำเนินการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียน แบบ Real Time 10. บริษัทประกันภัยควรมีแผนการบริหารความเสี่ยงที่ดี เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน 11. แนวทางเกี่ยวกับกระบวนการเข้าทำสัญญา การใช้หรือการตีความข้อสัญญา และการยกเลิกสัญญาให้เป็นธรรม และไม่กระทบต่อผู้เอาประกันภัย การตีความสัญญาประกันภัยต้องเป็นไปตามกฎหมายประกันภัย หรือต้องปรากฏหลักฐานชัดเจนต่อบริษัทว่าผู้เอาประกันภัยได้กระทำการทุจริตหรือฉ้อฉลประกันภัย และอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 โดยหากสัญญาข้อใดที่ไม่เป็นธรรมให้มีผลใช้บังคับได้เท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีเท่านั้น “การประชุม CEO Insurance Forum 2022 ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากทุกภาคส่วน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า สำนักงาน คปภ. และภาคธุรกิจประกันภัยพร้อมที่จะเรียนรู้ร่วมกัน เหตุการณ์ที่ผ่านมาผมเห็นว่าเปล่าประโยชน์ที่จะไปโทษว่าใครผิด ใครถูก หรือโยนความผิดพลาดให้ใครรับผิดชอบ แต่ควรจะหันมาร่วมมือกันเพื่อฝ่าวิกฤตนี้ไปให้ได้และถอดบทเรียนเพื่อสร้างเกราะป้องกันให้ระบบประกันภัยของไทยมีความแข็งแกร่งเพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนต่อไป” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย |
ภาคธุรกิจประกันชีวิตเผยตัวเลขครึ่งแรก ปี 65
ภาคธุรกิจประกันชีวิตเผยตัวเลขครึ่งแรก ปี 65 สำหรับเบี้ยประกันภัยรับรายใหม่ ประกอบด้วย 1.) เบี้ยประกันภัยรับปีแรก 49,331 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.79 2.) เบี้ยประกันภัยจ่ายครั้งเดียว 30,354 ล้านบาท เติบโตลดลงร้อยละ 19.90 หากจำแนกเบี้ยประกันภัยรับรวมแยกตามช่องทางการจำหน่ายจะปรากฏ ดังนี้ 1. การขายผ่านช่องทางตัวแทนประกันชีวิต (Agency) มีเบี้ยประกันภัยรับรวม 147,747 ล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.50 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 51.11 2. การขายผ่านช่องทางธนาคาร (Bancassurance) มีเบี้ยประกันภัยรับรวม 114,692 ล้านบาท อัตราการเติบโตลดลงร้อยละ 7.52 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 39.67 3. การขายผ่านช่องทางนายหน้าประกันชีวิต (Broker) มีเบี้ยประกันภัยรับรวม 13,848 ล้านบาท อัตราการเติบโตลดลงร้อยละ 0.51 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.79 4. การขายผ่านช่องทางโทรศัพท์ (Tele Marketing) มีเบี้ยประกันภัยรับรวม 6,984 ล้านบาท อัตราการเติบโตลดลงร้อยละ 1.47 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.42 5. การขายผ่านช่องทางดิจิทัล (Digital) มีเบี้ยประกันภัยรับรวม 384 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.69 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.13 6. การขายผ่านช่องทางไปรษณีย์ (Direct Mail) มีเบี้ยประกันภัยรับรวม 17 ล้านบาท เติบโตลดลงร้อยละ 15.50 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.01 7. การขายผ่านช่องทางอื่น (Others) เช่น การขาย Worksite, การขายผ่านการออกบูธ, การขายผ่านร้านค้าสะดวกซื้อ เป็นต้น มีเบี้ยประกันภัยรับรวม 5,425 ล้านบาท เติบโตลดลงร้อยละ 18.32 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.88 ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาแยกผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตในช่วงครึ่งแรก ปี 2565 พบว่า เบี้ยประกันภัยรับรวมของสัญญาเพิ่มเติมประกันภัยสุขภาพ (Health) และสัญญาเพิ่มเติมโรคร้ายแรง (CI) อยู่ที่ 50,808 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 2564 ซึ่งหลัก ๆ มาจากการที่ประชาชนเริ่มตระหนักให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพและการทำประกันสุขภาพมากขึ้น เนื่องจากจำเป็นต้องบริหารความเสี่ยงจากค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี ในขณะที่เบี้ยประกันภัยรับรวมของประกันชีวิตแบบบำนาญ (Annuity) อยู่ที่ 4,540 ล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.98 ส่วนหนึ่งมาจากการที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัย ประกันบำนาญเป็นเครื่องมือการเงินประเภทหนึ่งที่ช่วยสร้างวินัยทางการออมให้มีฐานะการเงินที่เพียงพอต่อความเป็นอยู่ในช่วงเกษียณ และมาจากการที่ภาครัฐสนับสนุนในเรื่องมาตรการลดหย่อนภาษี เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนมีการเตรียมความพร้อมทางด้านการเงินเมื่อเข้าวัยเกษียณ อย่างไรก็ตามภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2565 อยู่ในระดับที่ชะลอตัว มีอัตราการเติบโตของเบี้ยประกันภัยรับรวมลดลงจากช่วงเดียวกันเมื่อเทียบกับปีก่อน โดยมาจากการได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ อาทิ อัตราค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นจากสถานการณ์เงินเฟ้อ ซึ่งส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงและส่งผลต่อกำลังซื้อของประชาชน รวมถึงภาวะดอกเบี้ยที่มีความผันผวนและสถานการณ์เงินบาทอ่อนค่า ทำให้ประชาชนชะลอการลงทุน จะเห็นได้จากผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit- Linked + Universal Life) มีเบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 19,825 ล้านบาท เติบโตลดลงร้อยละ 8.22 สำหรับทิศทางภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2565 ยังมีปัจจัยที่ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจประกันชีวิตมีอัตราการเติบโตเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้เมื่อต้นปี โดยคาดการณ์ว่าภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตปี 2565 จะมีเบี้ยประกันภัยรับรวมประมาณ 612,000 – 629,500 ล้านบาท อัตราการเติบโตระหว่างร้อยละ 0 ถึง 2.5 และอัตราความคงอยู่ประมาณร้อยละ 82 ถึง 83 โดยหลักๆ มาจากปัจจัยบวกที่ช่วยกระตุ้นและส่งเสริมธุรกิจประกันชีวิตในสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ที่คนใส่ใจและดูแลสุขภาพ และได้ตระหนักถึงความสำคัญของการทำประกันสุขภาพมากขึ้น รวมถึงผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบบำนาญ ที่ตอบโจทย์สังคมผู้สูงอายุของไทยในปัจจุบัน ทำให้ประชาชนเริ่มหันมาทำประกันชีวิตแบบบำนาญมากขึ้น ในขณะเดียวกันพฤติกรรมการซื้อประกันผ่านช่องทางออนไลน์ รวมกับ ช่องทางหลักอย่างช่องทางตัวแทนและช่องทางอื่นๆ เริ่มมีสัดส่วนที่มากขึ้น จากความสะดวก รวดเร็วและเข้าถึงข้อมูลที่ง่ายมากขึ้น เพราะสามารถเปรียบเทียบข้อมูลและเลือกแบบประกันที่ตรงกับความต้องการ นอกจากนี้ยังเป็นช่วงที่ภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมธุรกิจประกันชีวิต เรื่องของการลดหย่อนภาษี รวมถึงเรื่องการขายรูปแบบ Digital Face to Face ที่ลดขั้นตอนและเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับการเสนอขายประกันชีวิต ซึ่งช่วยส่งเสริมและผลักดันให้ธุรกิจประกันชีวิตสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 ธุรกิจประกันชีวิตยังต้องเผชิญกับความท้าทายต่าง ๆ อาทิ สงครามการค้าระหว่างประเทศ ความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ การเกิดใหม่ของสงครามเทคโนโลยี (Cyber War) ตลอดจนการบังคับใช้กฎหมายใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) พ.ศ. 2562 และสัญญาการประกันภัยสุขภาพแบบมาตรฐานใหม่ (New Health Standard) ส่งผลให้แต่ละบริษัทประกันชีวิตต้องพัฒนาแบบประกันและการบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้ามากขึ้น ปรับกระบวนการให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงต้องบริหารความเสี่ยงรอบด้านทั้งก่อนและหลังการรับประกันภัย เพื่อให้สามารถปรับกลยุทธ์และทิศทางการดำเนินงานได้ทันต่อสถานการณ์ และให้ฐานะทางการเงินของบริษัทประกันยังเติบโตได้มั่นคงและแข็งแกร่ง ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของภาคธุรกิจ ในการรับมือต่อปัจจัยท้าทายและความไม่แน่นอนรอบด้าน สมาคมประกันชีวิตไทยจึงมีนโยบายส่งเสริมให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตให้มีความหลากหลายเหมาะสมและตอบโจทย์ความต้องการที่เฉพาะเจาะจงเป็นรายบุคคล (Personalized) มากขึ้น รวมถึงผลักดันให้แต่ละบริษัทประกันชีวิตใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสมัยใหม่ หรือนวัตกรรมใหม่ๆ (Innovation) มาใช้ในกระบวนการเสนอขายและการส่งมอบบริการหลังการขาย เพื่อยกระดับมาตรฐานการดำเนินงานของภาคธุรกิจ ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคมากขึ้น ในขณะที่สมาคมฯ มีการนำระบบสอบตัวแทนประกันชีวิตแบบ Virtual Examination (E-Exam) ระบบการออกใบอนุญาตตัวแทนประกันชีวิตในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Licensing) และระบบการอบรม – การขอต่อใบอนุญาตตัวแทนและนายหน้าประกันชีวิตในรูปแบบ E-Learning มาใช้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนรุ่นใหม่ที่สนใจสมัครเข้าร่วมเป็นตัวแทนประกันชีวิต ปัจจุบัน สมาคมประกันชีวิตไทยมีการจัดตั้งคณะทำงานกลุ่มย่อย เพื่อเป็นแกนกลางทำงานร่วมกันระหว่าง บริษัทประกันชีวิตและสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งให้ธุรกิจประกันชีวิตสามารถดำเนินการตามแผนงานได้รอบด้าน และช่วยผลักดันให้ภาพรวมธุรกิจเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง นายกสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวเพิ่มเติม |
1-10 of 264