นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้มอบหมายให้ นางกุลณี อิศดิศัย อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า แถลงข่าวการจดทะเบียนธุรกิจและการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประจำเดือน กรกฎาคม 2561 โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ผลการจดทะเบียนธุรกิจ ธุรกิจจัดตั้งใหม่เดือนกรกฎาคม • จำนวนธุรกิจจัดตั้งใหม่ มีผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัทจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศในเดือนกรกฎาคม 2561 จำนวน 5,964 ราย เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2561 จำนวน 6,514 ราย ลดลงจำนวน 550 ราย คิดเป็นร้อยละ 8 และเมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2560 จำนวน 5,979 ราย ลดลงจำนวน 15 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.3 • ประเภทธุรกิจจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 516 ราย คิดเป็น ร้อยละ 9 รองลงมา คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 322 ราย คิดเป็นร้อยละ 5 และอันดับ 3 คือ ธุรกิจภัตตาคาร / ร้านอาหาร จำนวน 204 ราย คิดเป็นร้อยละ 3 • มูลค่าทุนธุรกิจจัดตั้งใหม่ ในเดือนกรกฎาคม 2561 มีจำนวนทั้งสิ้น 26,354 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2561 จำนวน 24,589 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 1,765 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 7 และเมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2560 จำนวน 21,258 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 5,096 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 24 ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่ ณ เดือนกรกฎาคม • ธุรกิจจัดตั้งใหม่แบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศมากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท มีจำนวน 5,853 ราย คิดเป็นร้อยละ 98.14 รองลงมา คือช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท มีจำนวน 90 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.51 และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 21 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.35 โดยมีธุรกิจที่ทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาท จำนวน 3 ราย ได้แก่ ธุรกิจการผลิตและการส่งไฟฟ้า ธุรกิจโฮลดิ้ง และธุรกิจขายปลีกอุปกรณ์การสื่อสารโทรคมนาคม ธุรกิจละ 1 ราย โดยมีมูลค่าทุนรวมทั้งสิ้น 8,541 ล้านบาท • ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่ทั้งสิ้น (ณ วันที่ 31ก.ค. 61) ธุรกิจที่ยังคงดำเนินกิจการอยู่ทั่วประเทศ จำนวน706,192 ราย มูลค่าทุน 17.85 ล้านล้านบาท จำแนกเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด / ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล จำนวน 184,008 ราย คิดเป็นร้อยละ 26.06 บริษัทจำกัด จำนวน 520,977 ราย คิดเป็นร้อยละ 73.77 และบริษัทมหาชนจำกัด จำนวน 1,207 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.17 • ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่แบ่งตามช่วงทุน ธุรกิจส่วนใหญ่มีช่วงทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท จำนวน 624,075 ราย คิดเป็นร้อยละ 88 รวมมูลค่าทุน 1.02 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6 รองลงมา คือช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 67,630 ราย คิดเป็นร้อยละ 10 รวมมูลค่าทุน 1.82 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10 และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 14,487 ราย คิดเป็นร้อยละ 2 รวมมูลค่าทุน 15.01 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 84 ตามลำดับ ธุรกิจเลิกประกอบกิจการเดือนกรกฎาคม • จำนวนธุรกิจเลิกประกอบกิจการ มีจำนวน 1,688 ราย เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2561 จำนวน 1,392 ราย เพิ่มขึ้นจำนวน 296 ราย คิดเป็นร้อยละ 21 และเมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2560 จำนวน 1,626 ราย เพิ่มขึ้นจำนวน 62 ราย คิดเป็นร้อยละ 4 • ประเภทธุรกิจเลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 148 ราย คิดเป็นร้อยละ 9 รองลงมาคือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 115 ราย คิดเป็นร้อยละ 7 และธุรกิจให้คำปรึกษาด้านการจัดการ จำนวน 56 ราย คิดเป็นร้อยละ 3 ตามลำดับ • มูลค่าทุนธุรกิจเลิกประกอบกิจการ ในเดือนกรกฎาคม 2561 มีจำนวนทั้งสิ้น 6,282 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2561 จำนวน 8,486 ล้านบาท ลดลงจำนวน 2,204 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 26 และเมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2560 จำนวน 5,997 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 285 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5 • ธุรกิจเลิกประกอบกิจการแบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจเลิกประกอบกิจการทั่วประเทศมากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท จำนวน 1,588 ราย คิดเป็นร้อยละ 94.08 รองลงมา คือช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 92 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.45 และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท มีจำนวน 8 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.47 การคาดการณ์ตลอดปี 2561 อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค.- ก.ค.61) มีการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัท จำนวน 43,512 ราย เพิ่มขึ้น จำนวน 1,591 ราย คิดเป็นร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (ม.ค.-ก.ค.60) จำนวน 41,921 ราย ซึ่งมีทิศทางสอดคล้องกับภาพรวมเศรษฐกิจไทยที่ขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ที่ดีจากภาคการส่งออก ภาคการท่องเที่ยว รวมถึงการบริโภคภายในประเทศและการลงทุนภาครัฐในระบบโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนถึงการวางแนวทางในการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น จะเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยให้มีการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้ต่อไป การให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเดือน กรกฎาคม 2561 e – Certificate File กรมได้ยกระดับการอำนวยความสะดวกในการรับบริการขอหนังสือรับรองนิติบุคคลแก่ประชาชนไปอีกขั้น โดยการออกหนังสือรับรองรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ และส่งให้กับผู้ยื่นขอผ่านทางอีเมล์ อีกทั้งยังรองรับการจัดส่งหนังสือรับรองนิติบุคคลในรูปแบบไฟล์ให้แก่หน่วยงานที่รับจดแจ้งโดยตรง ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกและ ลดขั้นตอนแก่ผู้ใช้บริการมีกำหนดเปิดให้บริการในวันที่ 15 สิงหาคม 2561 เป็นต้นไป โดยสามารถยื่นขอได้ทาง www.dbd.go.th ขั้นตอนในการขอใช้บริการ 1. ยื่นขอรับหนังสือรับรองผ่านทางอินเทอร์เน็ต ชำระเงินอัตราค่าธรรมเนียมผ่าน 3 ช่องทาง ได้แก่ (1) Counter Bank (2) Internet Banking และ (3) ตู้ ATM 2. หนังสือรับรองนิติบุคคลที่ผ่านการตรวจสอบและลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยนายทะเบียน จะถูกจัดส่งในรูปแบบไฟล์หนังสือรับรองอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ผู้ยื่นขอทางอีเมล์ พร้อมกำหนดรหัสการเปิดเอกสารไฟล์ 3. ผู้ยื่นขอดาวน์โหลดเป็นรูปแบบไฟล์ PDF ส่งให้แก่หน่วยงาน 4. นายทะเบียนจะรับรองหนังสือนิติบุคคลรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ ส่วนการพิมพ์ออกเป็นเอกสารถือเป็นสำเนาและเป็นการรับรองของผู้พิมพ์ออก 5. สามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในหน้าหนังสือรับรองฯ ผ่านทาง QR Code และตรวจสอบได้ภายใน 1 เดือน 6. อัตราค่าธรรมเนียม ไฟล์ละ 200 บาท มีผลใช้ได้ตามกฎหมาย โดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ และข้อกำหนดของ พ.ร.บ.ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และฉบับแก้เพิ่มเติม พ.ศ.2551 e - Secured กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้เปิดให้บริการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจแบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างครบวงจร ผ่าน Web Application และ Web Service แบบ Host to Host และชำระค่าธรรมเนียมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) และออกใบเสร็จรับเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) โดยเจ้าพนักงานทะเบียน ลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature) รวมถึงสามารถตรวจค้นข้อมูลหลักประกันทางธุรกิจเบื้องต้นผ่านเว็บไซต์ www.dbd.go.th หรือผ่านระบบ mobile application (iOS และ Android) บนสมาร์ทโฟน โดยตั้งแต่ 4 กรกฎาคม 2559 จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2561 มีการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ จำนวน 219,038 คำขอ มูลค่าทรัพย์สินที่นำมาเป็นหลักประกัน จำนวน 4,946,623 ล้านบาท โดยมีการ นำทรัพย์สินที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจและใช้ประกอบธุรกิจมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจได้โดยไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สิน สำหรับเดือนกรกฎาคม 2561 มีการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ จำนวน 8,829 คำขอ มูลค่าทรัพย์สินที่นำมาเป็นหลักประกัน จำนวน 104,031 ล้านบาท ทั้งนี้ทรัพย์สินที่นำมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจมากที่สุด ได้แก่ สิทธิเรียกร้อง เช่น บัญชีเงินฝาก ลูกหนี้การค้า สิทธิการเช่า คิดเป็นร้อยละ 84.19 (มูลค่า 87,585 ล้านบาท) รองลงมาคือ สังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ เช่น สินค้าคงคลัง เครื่องจักร คิดเป็นร้อยละ 15.76 (มูลค่า 16,398 ล้านบาท) และกิจการ คิดเป็นร้อยละ 0.05 (มูลค่า 48 ล้านบาท) ขณะนี้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้มีการยกร่างกฎกระทรวงกำหนดทรัพย์สินอื่นเป็นหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. ... โดยกำหนดให้ไม้ยืนต้นที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจทุกประเภทเป็นหลักประกันทางธุรกิจได้ โดยได้ยกตัวอย่างรายชื่อต้นไม้ตามบัญชีท้าย พ.ร.บ. สวนป่า พ.ศ. 2535 จำนวน 58 ชนิด เช่น สัก พะยูง ชิงชัน กระซิก เต็ง รัง กระพี้เขาควาย สาธร แดง ประดู่ป่า ประดู่บ้าน มะค่าโมง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม นอกจากรายชื่อต้นไม้ที่ยกตัวอย่างดังกล่าวแล้ว ต้นไม้อื่นที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจที่สามารถใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้ได้ก็อยู่ในข่ายที่สามารถนำมาเป็นหลักประกัน ทางธุรกิจได้ตามร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ และที่ประชุม ครม. มีมติเห็นชอบในหลักการของร่างกฎกระทรวงดังกล่าวแล้วเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2561 ปัจจุบันอยู่ระหว่างสำนักงานกฤษฎีกาพิจารณา คาดว่าจะประกาศใช้ภายในเดือนกันยายน 2561 DBD e - Registration กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เริ่มให้บริการจดทะเบียนนิติบุคคล (ห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด) ผ่านระบบ จดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Registration) โดยการนำเทคโนโลยีมาให้บริการจดทะเบียนนิติบุคคล ได้อย่างครบวงจร เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในการประกอบธุรกิจให้ง่ายและสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2560 เป็นต้นมา จนถึง ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2561 มีผู้สมัครลงทะเบียน จำนวน 46,091 ราย ได้รับการอนุมัติและเข้าไปยืนยันการใช้ระบบ (Activate) จำนวน 24,518 ราย และมีการรับจดทะเบียนนิติบุคคล ทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Registration) จำนวน 7,458 ราย โดยกรมได้เชื่อมโยงระบบการจองชื่อนิติบุคคลกับระบบจดทะเบียนนิติบุคคลออนไลน์เป็นขั้นตอนเดียวกัน (จากเดิมมี 2 ขั้นตอน) โดยได้เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน 2561 เป็นต้นมา และเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2561 กรมมีนโยบายที่จะออกชื่อผู้ใช้งาน และรหัสผ่าน (Username & Password) ให้แก่ห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัดที่จัดตั้งใหม่ทั้งระบบ e - Registration และ Walk In สามารถใช้รหัสผ่านนิติบุคคล เพื่อใช้แจ้งข้อมูลในระบบงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของกรม เช่น การนำส่งงบการเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e - Filing) การใช้บริการงานการอนุญาตทางอิเล็กทรอนิกส์ (e - Permit) ซึ่งเป็นการช่วยอำนวยความสะดวกและลดความยุ่งยากให้กับผู้ประกอบธุรกิจ นอกจากนี้ กรมยังลดค่าธรรมเนียมให้นิติบุคคลที่จดทะเบียนผ่านระบบ e-Registration ลงอีกร้อยละ 30 (3,850 บาท) รวมถึงการพัฒนาระบบ e-Registration ให้ง่ายและสะดวกรวดเร็วเพื่อสนับสนุนการใช้ระบบ ด้วยการเชื่อมโยงระบบการเงินกับธนาคารพาณิชย์ ปรับปรุงระบบเพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานยิ่งขึ้น User Friendly และ เพิ่มช่องทาง Smart Devices เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการทำธุรกรรมผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้น DBD e - Filing กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้เปิดให้บริการนำส่งงบการเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์แก่ประชาชนและนิติบุคคลทั่วไป ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2558 เป็นต้นมา ในปีงบการเงิน 2560 นิติบุคคลที่ต้องส่งงบการเงินมี จำนวน 617,099 ราย โดยมีนิติบุคคลที่ส่งงบการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ DBD e-Filing ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2561 จำนวน 469,499 ราย คิดเป็นร้อยละ 91 ของนิติบุคคลที่นำส่งงบการเงินแล้ว โดยกรมได้เชื่อมโยงกับกรมสรรพากรให้นิติบุคคลที่ยื่นผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ DBD e - Filing กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเป็นการส่งงบการเงินให้กรมสรรพากร โดยอัตโนมัติตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ณ วันที่ 27 เมษายน 2561 โดยในปีนี้กรมพัฒนาระบบ DBD e - Filing ให้ง่ายและสะดวกในการใช้งานยิ่งขึ้น เพื่อรองรับการนำส่งงบการเงินที่มีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งกรมมีเป้าหมายให้นิติบุคคลนำส่งงบการเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ แทนการนำส่งในรูปแบบกระดาษ เพื่อสนองนโยบายรัฐบาลที่มีแนวทางขับเคลื่อนประเทศทั้งส่วนราชการ และภาคธุรกิจด้วยเทคโนโลยีผ่านการบูรณาการในการทำงานตามนโยบายรัฐบาลดิจิทัล e – Commerce การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และได้รับเครื่องหมาย DBD Registered เพื่อยืนยันการมีตัวตนของผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ปัจจุบันมีผู้ได้รับเครื่องหมาย DBD Registered (ณ ปี 46 – ก.ค.61) จำนวน 36,407 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน (มิ.ย.61) จำนวน 827 ราย คิดเป็นร้อยละ 2 ประกอบด้วยนิติบุคคล จำนวน 8,459 ราย คิดเป็นร้อยละ 24 บุคคลธรรมดา จำนวน 27,948 ราย คิดเป็นร้อยละ 76 และมีร้านค้าออนไลน์ ที่ได้รับเครื่องหมาย DBD Registered จำนวน 39,825 ร้านค้า เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน (มิ.ย.61) จำนวน 890 ร้านค้า คิดเป็นร้อยละ 2 ธุรกิจที่ได้รับเครื่องหมาย DBD Registered สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจการแพทย์ สุขภาพ ยา สมุนไพร สปา จำนวน 7,331 ร้านค้า รองลงมาธุรกิจแฟชั่น/เครื่องแต่งกาย/เครื่องประดับ จำนวน 5,800 ร้านค้า และธุรกิจคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ ไอทีและซอฟแวร์ จำนวน 3,038 ร้านค้า ตามลำดับ กรมได้ให้ความสำคัญอย่างมากกับนโยบายการสนับสนุนธุรกิจ e - Commerce ดังนี้ - การสร้างโอกาสทางการตลาด (e-Commerce Booster) โดยการจัดงานส่งเสริมการค้าออนไลน์ต่างๆ - การผลักดันเข้าสู่ช่องทางออนไลน์ (e-marketplace) โดยกรมได้จัดทำเว็บไซต์ “ของดีทั่วไทย” ทำการคัดเลือกสินค้าประจำท้องถิ่นที่ดีเด่นดัง ขณะนี้มีจำนวน 125 ร้านค้า (ณ วันที่ 11 กรกฎาคม 2561) และได้คัดเลือกสินค้าจากงานแสดงสินค้าต่างๆ เช่น งาน OTOP Mid Year 2018 งาน Moc Biz club Expo 2018 และขอความร่วมมือจากพาณิชย์จังหวัดในการคัดเลือกสินค้าที่เป็นของดี ของเด่นประจำจังหวัด ซึ่งขณะนี้ได้ร้านค้าเป้าหมายเพิ่มขึ้นอีกกว่า 100 ร้านค้า และอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูลทั้งในเรื่องของ story telling รูปภาพสินค้า และราคาสินค้าเพื่อนำขึ้นเว็บไซต์ คาดว่าจะมีร้านค้าของดีทั่วไทยมากกว่า 250 ร้านค้าในเดือนสิงหาคมนี้ DBD e - Service Application การให้บริการตรวจสอบข้อมูลนิติบุคคล ด้วยการค้นหาจากรายชื่อหรือเลขทะเบียนนิติบุคคล โดยสามารถตรวจสอบข้อมูลทั่วไป งบการเงิน รายชื่อร้านค้าออนไลน์ที่จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูลสมาคมการค้า และหอการค้า รวมถึงข้อมูลการจดทะเบียนหลักประกันธุรกิจ เพื่อใช้ในการตรวจค้นข้อมูลการจดทะเบียนหลักประกัน เช่น ค้นหาตามทรัพย์สิน ลูกหนี้ และผู้ให้หลักประกัน เป็นต้น รวมทั้งมีบริการข่าวสาร กิจกรรม โครงการต่างๆ และสถานที่ให้บริการของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าผ่านมือถือ (Application: DBD e-Service) สามารถใช้งาน ได้ทั้งระบบปฏิบัติการ iOS และ Android โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2557 เป็นต้นมา เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบข้อมูลนิติบุคคลได้ด้วยตนเอง สถิติผู้เข้าใช้บริการระบบสะสมจนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2561 รวมทั้งสิ้น 8,071,274 ครั้ง โดยในเดือนกรกฎาคม 2561 มีผู้ใช้บริการ จำนวน 551,547 ครั้ง เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน (ม.ค.57 – มิ.ย.61 = 7,519,727 ครั้ง) คิดเป็นร้อยละ 7 ขณะนี้กรมอยู่ระหว่างพัฒนาระบบ DBD e-Service Application ให้สามารถรองรับการให้บริการขอหนังสือรับรอง รับรองสำเนา และถ่ายเอกสารผ่านทางอินเทอร์เน็ต (e-Service) เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวก ให้ผู้ใช้บริการสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ได้ทุกที่ ทุกเวลา e - Service กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้เปิดให้บริการขอหนังสือรับรอง รับรองสำเนา และถ่ายเอกสารผ่านทางอินเทอร์เน็ต (e - Service) ในปี 2549 เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในการรับเอกสารทางทะเบียนนิติบุคคล งบการเงินและรายชื่อผู้ถือหุ้น โดยร่วมมือกับธนาคารพาณิชย์ให้ผู้ใช้บริการสามารถขอรับเอกสารผ่านช่องทาง Walk in EMS Delivery โดยชำระเงินผ่านช่องทาง Internet Banking ตู้ ATM และเคาน์เตอร์ธนาคาร โดยตั้งแต่เปิดให้บริการเมื่อมกราคม 2549 จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2561 มีผู้ใช้บริการ จำนวน 1,776,805 ราย มีผู้ใช้บริการช่องทาง EMS จำนวน 978,298 ราย Walk in จำนวน 588,911 ราย และDelivery จำนวน 209,596 ราย สำหรับเดือนกรกฎาคม 2561 มีผู้ใช้บริการ จำนวน 16,540 ราย แบ่งเป็น กรุงเทพฯ จำนวน 15,327 ราย คิดเป็นร้อยละ 93 ส่วนภูมิภาค จำนวน 1,213 ราย คิดเป็นร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา มีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้น จำนวน 1,014 ราย คิดเป็นร้อยละ 6 และช่องทางการรับเอกสารที่ผู้ใช้บริการใช้มากที่สุด คือ EMS คิดเป็นร้อยละ 56 รองลงมา Walk in คิดเป็นร้อยละ 24 และDelivery คิดเป็นร้อยละ 20 ตามลำดับ ขณะนี้กรมได้พัฒนายกระดับการให้บริการขอหนังสือรับรอง รับรองสำเนา และถ่ายเอกสารผ่านทาง อินเทอร์เน็ต (e-Service) โดยใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature) ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลดิจิทัล กำหนดเปิดให้บริการในวันที่ 15 สิงหาคม 2561 เป็นต้นไป โดยสามารถยื่นขอได้ทาง www.dbd.go.th e - Certificate กรมได้เปิดให้บริการออกหนังสือรับรองและรับรองสำเนาเอกสารนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Certificate) ผ่านธนาคาร ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2555 โดยให้บริการผ่านธนาคาร 9 ธนาคาร ได้แก่ กรุงเทพ กรุงไทย ออมสิน กสิกรไทย ไทยพาณิชย์ ธนชาต มิซูโฮ กรุงศรีอยุธยา และเกียรตินาคิน มีสาขาให้บริการ จำนวน 4,043 สาขา จนถึง ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2561 มีสถิติผู้ใช้บริการ จำนวน 872,391 ราย โดยแบ่งเป็นให้บริการหนังสือรับรอง จำนวน 828,170 ฉบับ และรับรองสำเนาเอกสาร จำนวน 382,766 แผ่น โดยในเดือนกรกฎาคม 2561 มีผู้ใช้บริการ จำนวน 16,110 ราย โดยแบ่งเป็นการให้บริการหนังสือรับรอง จำนวน 15,133 ฉบับ และรับรองสำเนาเอกสาร จำนวน 8,000 แผ่น แนวโน้มการขยายตัวในการให้บริการในปี 2561 (ม.ค.-ก.ค.) มีการให้บริการ เพิ่มขึ้นจำนวน 13,376 ราย คิดเป็นร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากธนาคารได้เพิ่มการประชาสัมพันธ์และ รวมบริการ e-Certificate ควบคู่ไปกับบริการอื่นๆ ของธนาคาร การเชื่อมโยงข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ ตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาคำขออนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 21/2560 การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ ข้อที่ 17 มีเจตนารมณ์ให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานรัฐ เพื่อให้การทำธุรกรรมกับภาครัฐ ได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น โดยการยกเลิกการขอสำเนาเอกสารทางราชการ (Zero Copy) จากประชาชนในการทำธุรกรรมหรือการติดต่อราชการ เพื่อสร้างความโปร่งใสในการบริหารราชการที่รวดเร็ว เป็นการอำนวยความสะดวก ลดภาระค่าใช้จ่ายและเวลาให้กับประชาชนในการติดต่อราชการทั่วประเทศ เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชน และภาคธุรกิจได้มากยิ่งขึ้น กรมพัฒนาธุรกิจการค้าให้บริการเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานภาครัฐ ตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2561 มีหน่วยงานที่เชื่อมโยงข้อมูลเพื่อไปใช้ประโยชน์ในทางราชการและบริการประชาชนจำนวนทั้งสิ้น 67 หน่วยงาน |
Government >