พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้การต้อนรับ Mr.Hiroshige Seko รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษ ฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม พร้อมด้วยหน่วยงานด้านเศรษฐกิจแ ละคณะนักลงทุนรายใหญ่กว่า 570 รายจากประเทศญี่ปุ่นเนื่องในโอก าสที่ความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ประเทศได้ดำเนินมาสู่ปีที่ 130 พร้อมเผยญี่ปุ่นยังเชื่อมั่นในเ สถียรภาพทางเศรษฐกิจ ย้ำปีนี้การเมืองไทยมั่นคงที่สุ ดในรอบ 10 ปี โดยการพบกันในครั้งนี้ยังได้ผลั กดันให้เกิดการเชื่อมโยงยุทธศาส ตร์ Thailand 4.0 และ Connected Industries ไปสู่นโยบาย Thailand 4.0 Towards Connected Industries เพื่อจับมือร่วมกันในการเป็นหุ้ นส่วนยุทธศาสตร์และเศรษฐกิจ ต่อเนื่องถึงการส่งเสริมการเปิด เสรีการค้าและการลงทุน การพัฒนา 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายและผู้ประกอบ การ SMEs ตลอดจนการยกระดับพื้นที่ EEC (Eastern Economic Corridor) ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง) ไปสู่ EECi (Eastern Economic Corridor of Innovation) ที่มีจุดเด่นในด้านนวัตกรรม และความทันสมัยตลอดจนเต็มไปด้วย สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการวิจัย และการสร้างนวัตกรรม ทั้งนี้ ยังได้กำหนดแผนการลงทุนเพื่อเชื่ อมโยงการคมนาคม ในระยะเวลา 5 ปี ระหว่างกรุงเทพฯ – EEC และเชื่อมสู่ภูมิภาคทั่วประเทศ ด้วยโครงการต่างๆ อาทิ โครงการพัฒนาท่ าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภาให้ รองรับผู้โดยสารจาก 3 ล้านคน เป็น 60 ล้านคนต่อปี ภายในปี 2575 การก่อสร้างทางหลวงต่างๆ ในส่วนที่ยังขาดหายให้ครบถ้วนสม บูรณ์ยิ่งขึ้น ตลอดจนเตรียมแก้ไขกฎหมาย และการเพิ่มสิทธิประโยชน์บางประ การเพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกิดกา รลงทุนในประเทศ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีในกลุ่ มอุตสาหกรรมใหม่ให้ไทยมากขึ้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในบรรดาชาติพันธมิตรลำดับต้นๆ ของไทยนั้น ญี่ปุ่นถือได้ว่าเป็นมิตรแท้ที่ มีบทบาทและเป็นต้นแบบในหลายด้าน ที่สำคัญต่อเนื่องมาหลายทศวรรษ ไม่ว่าจะเป็นภาคเศรษฐกิจ การเมือง อุตสาหกรรม ตลอดจนการค้าและการลงทุน สำหรับในปี 2560 ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่ างยิ่งที่ความสัมพันธ์อย่างเป็ นทางการทูตของทั้ง 2 ประเทศได้ดำเนินมาถึงปีที่ 130 และยังถือว่าเป็นจุดเปลี่ ยนของทั้งสองชาติ เนื่องจากต่างฝ่ายต่างก็กำลั งอยู่ในช่วงของภาวะการฟื้นตั วทางเศรษฐกิจ จะเห็นได้ว่า เมื่อเร็วๆ นี้ มีข่าวน่ายินดีที่เศรษฐกิจของปร ะเทศญี่ปุ่นเติบโตมากที่สุดในรอ บ 2 ปี และเป็นผลต่อเนื่องให้เกิดการกร ะตุ้นการใช้จ่าย การลงทุน ตลอดจนการผลักดั นนโยบายอาเบะโนมิกส์ และ Connected Industries ที่ทั้งสองนโยบายดังกล่าวจะเชื่ อมโยงมาสู่ยุทธศาสตร์การส่งเสริ มกลุ่มประเทศ CLMVT การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจ พิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC รวมทั้งนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งจะทำให้เกิดการร่วมมือและขั บเคลื่อนทั้งสองประเทศไปสู่อนาค ตอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับการเดินทางมาเยือนประเทศไ ทยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษ ฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (METI) หน่วยงานส่งเสริมเศรษฐกิจ และคณะนักลงทุนรายใหญ่ของญี่ปุ่ นกว่า 570 ราย ในครั้งนี้นับเป็นเรื่องที่น่ ายินดีอย่างยิ่งที่ ความพยามในการผลักดันมาตรการต่ างๆ จากภาครัฐของไทย เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศ รษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมก ารลงทุน (BOI) มีความชัดเจนและเห็นผลที่เป็นรู ปธรรมหลายประการ สิ่งที่เกิดขึ้นได้ทำให้ชาวโลกไ ด้เห็นถึงเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ต่อเนื่องถึงทัศนคติและความเชื่ อมั่นต่อยุทธศาสตร์ของรัฐบาลในก ารพัฒนาและสร้างความเชื่อมั่นทา งการเมืองของประเทศที่เห็นผลแล้ วว่าในระยะ 10 ปีที่ผ่านมานี้มีความมั่ นคงมากที่สุด ซึ่งยังมั่นใจว่าหลังจากนี้ ภาคอื่นๆ ที่สำคัญต่อการพัฒนาโครงสร้างขอ งประเทศจะเกิดสัญญาณที่ดีขึ้นตา มมาและเห็นผลเป็นรูปธรรมในไม่ช้ าอีกแน่นอน พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการเชื่อมโยงการพัฒนาเศรษฐกิจ ของประเทศ รัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ยังคงยึดแม่เหล็กใหญ่คือนโยบายไ ทยแลนด์ 4.0 เป็นสำคัญ โดยหลักการดังกล่าวนั้ นสามารถเชื่อมโยงและร้อยเรียงกั บนโยบาย Connected Industries ของประเทศญี่ปุ่นให้เกิดความสอด คล้องและเติมเต็มระหว่างกันและนำ ไปสู่ยุทธศาสตร์ Thailand 4.0 Towards Connected Industries ได้อย่างดีเยี่ยม ทั้งนี้ การเชื่อมต่อของทั้งสองนโยบายจะ เริ่มต้นที่การเป็นหุ้นส่วนยุทธ ศาสตร์และเศรษฐกิจ ซึ่งครอบคลุมทั้งด้านเสรีการค้า การส่งเสริมการลงทุน การพัฒนา 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย และผู้ประกอบการ SMEs ของทั้งสองประเทศ โดยปัจจัยทั้งหมดนี้ยังจะช่วยย กระดับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคต ะวันออกของไทย ให้เป็นแลนด์มาร์คของแหล่งอุตสา หกรรมที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่ง ของเอเชีย นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีแผนงานการลงทุนเพื่อ ยกระดับและพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ พิเศษภาคตะวันออกให้เป็นพื้นที่ เศรษฐกิจใหม่ด้วยเทคโนโลยี และนวัตกรรม หรือ EECi ที่มีจุดเด่นด้านความเป็นเมือง นวัตกรรมที่เป็นต้นแบบของการพัฒ นางานวิจัยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ในลักษณะองค์รวม มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันเพื่อก่ อประโยชน์สูงสุดด้วยการรวมศูนย์ ห้องปฏิบัติการและสนามทดสอบนวัต กรรม ศูนย์รับรองมาตรฐานนวั ตกรรมทางด้านระบบและอุปกรณ์อั จฉริยะ โดยจัดตั้งเป็นเขตทดสอบนวัตกรรม อัจฉริยะของประเทศที่ผ่อนปรนกฎร ะเบียบที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการคิ ดค้นนวัตกรรม ทั้งนี้ รัฐบาลยังได้กำหนดแผนการลงทุนพั ฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งภายใต้โค รงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออกในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2560 – 2564) เพื่อเชื่อมโยงเส้ นทางคมนาคมขนส่งสินค้าระหว่ างกรุงเทพฯ กับภาคตะวันออกรวมทั้งเชื่อมสู่ ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ และเป็นประตูสู่เมียนมา เวียดนาม สปป.ลาว กัมพูชา และจีนตอนใต้ ซึ่งประกอบด้วยโครงการสำคัญๆ ได้แก่ · โครงการพัฒนาท่ าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ในระยะ 5 ปีแรก จะเพิ่มขีดความสามารถให้รองรั บผู้โดยสารจาก 3 ล้านคน เป็น 5 ล้านคนต่อปี และ 60 ล้านคนภายในปี 2575 · โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่และรถ ไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางและการ ขนส่ง · โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 เพื่อรองรับความต้องการขนส่งสิน ค้าทางทะเลระหว่างประเทศในอนาคต · โครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3 เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่ งของสาธารณูปโภคหลักในการรองรั บการขนส่งสินค้าเหลว ก๊าซธรรมชาติ และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง · โครงการพัฒนาท่าเรือพาณิชย์สั ตหีบ · โครงการก่อสร้างถนนมอเตอร์เวย์ 3 เส้นทาง · ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้ านการลงทุน (OSS: One Stop Service) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักลงทุน ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย นอกจากนี้เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ เกิดการลงทุนในประเทศ รัฐบาลยังได้แก้ไขกฎหมายการส่งเ สริมการลงทุน และออกมาตรการเพื่อเร่งรัดการลง ทุนเพิ่มเติม ตลอดจนเพิ่มสิทธิประโยชน์และการ อำนวยความสะดวกต่างๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของนั กลงทุนอีกเป็นจำนวนมาก เพื่อหวังให้เกิดการลงทุนรูปแบบ ใหม่ๆ ตลอดจนการส่งเสริมให้ไทยเป็นฐาน การลงทุนต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้ านมากขึ้น โดยยังตั้งเป้าให้มีการถ่ายทอดห รือแลกเปลี่ยนในอุตสาหกรรมเดิมแ ละอุตสาหกรรมใหม่ อาทิ ยานยนต์ อากาศยาน เครื่องมือแพทย์ Green Technology ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลนี้จะอัพเกรด ให้ทุกอย่างอยู่ภายใต้คอนเซปต์ “สมาร์ท” เพื่อให้ความก้าวล้ำเกิดขึ้นอย่ างทั่วถึง พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวปิดท้าย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ให้การต้อนรับคณะผู้เดินทางจ ากญี่ปุ่น ณ ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งประกอบด้วย Mr. Hiroshige Seko รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น ผู้บริหารระดับสูงทั้งภาครัฐและ ภาคเอกชน อาทิ อธิบดีกรมนโยบายการค้า ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่า งประเทศของญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ (JETRO) ประธานองค์การสนับสนุน SMEs แห่งประเทศญี่ปุ่น (SMRJ) ผู้บริหารบริษัทอายิโน๊ะโมโต๊ะ คูโบต้าคอร์ปอเรชั่น มิตซุยซูมิโตโม่อินชัวรันส์ พร้อมหยิบยกประเด็นหารื อในการส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้ าหมาย เช่น การร่วมมือในการพัฒนายานยนต์แห่ งอนาคต อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภ าพ นอกจากนี้ นักลงทุนญี่ปุ่นยังได้สอบถามนาย กรัฐมนตรีถึงความคาดหวังจากผู้ป ระกอบการญี่ปุ่นในการเสริมสร้าง ศักยภาพให้กับ SMEs ไทย พร้อมทั้งได้ยกตัวอย่ างบทบาทสำคัญของ SMEs ในญี่ปุ่นที่มีเทคโนโลยีและความ ชำนาญที่ล้ำสมัยและมีส่วนช่วยใน การพัฒนาความสามารถในการแข่งขั นของภาคอุตสาหกรรมและกระตุ้นเศร ษฐกิจในท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่ นมาแล้ว โดยพล.อ.ประยุทธ์ ยังได้กล่าวแสดงความชื่นชมในวิ สัยทัศน์อันยาวไกลและกว้ างขวางของผู้นำด้านเศรษฐกิ จและนักลงทุนของญี่ปุ่นที่มี ความเชื่อมั่นในศั กยภาพของประเทศไทย พร้อมทั้งได้สร้างความเชื่อมั่น ว่าประเทศไทยและคนไทยจะไม่ทำให้ นักลงทุนชาวญี่ปุ่นเกิดความผิดห วังอย่างแน่นอน โดยในช่วงค่ำ นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยังได้นำคณะผู้เดินทางจากญี่ปุ่ นร่วมกิจกรรมสร้างเครือข่ายธุ รกิจกับนักลงทุนไทย (Business Networking Reception) พร้อมรับประทานอาหารค่ำ และชมการแสดงวัฒนธรรมไทยและญี่ ปุ่น เนื่องในโอกาสครบรอบ 130 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ญี่ ปุ่น โดยมีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ให้การต้อนรับพร้อมกล่าวอวยพร ณ โรงแรมพลาซ่า แอทธินี |
Government >